Page 24 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       4.  กลุ่มชุดดินในประเทศไทย


                              กรมพัฒนาที่ดินได้ท าการศึกษาทรัพยากรดินในระดับจังหวัดจนแล้วเสร็จ ประมาณปี 2527

                       แต่ก็มีความยุ่งยากมากพอสมควรในการที่จะน าไปใช้ในการแปลผลด้านการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช
                       เศรษฐกิจ ในปี 2530 ได้มีการปรับปรุงแผนที่ดินระดับจังหวัด มาตราส่วน 1:50,000 ภายใต้โครงการ

                       ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยได้น าหน่วยแผนที่ดินระดับกลุ่มชุดดินมาใช้ (62  กลุ่มชุด

                       ดิน) เพื่อความสะดวกในการน าข้อมูลไปใช้ในด้านการส่งเสริมหรือการวางแผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสม
                       กับศักยภาพของที่ดิน  เพราะจากการส ารวจจ าแนกดินพบว่าดินในประเทศไทยมีจ านวนมากเกือบ

                       300  ชุดดิน (soil  series)  การที่จะจัดความเหมาะสมของดินกับการปลูกพืชในแต่ละชุดดินนั้น จะมี

                       เป็นจ านวนมากและเกิดความสับสนแก่ผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงได้รวบรวมชุดดินที่มีลักษณะคุณสมบัติและ
                       สภาพแวดล้อมอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน สามารถใช้เป็นตัวแทนกันได้ จัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกันรวมทั้งหมด 62

                       กลุ่ม กลุ่มดินดังกล่าวน่าจะได้พิจารณาน ามาเป็นพื้นฐานในการจัดการเกี่ยวกับดินทางการเกษตรได้
                       (เล็ก และสุนันท์,  2535) ต่อมาในปี 2542-2544 กรมพัฒนาที่ดินได้มีการปรับปรุงการจัดท าแผนที่

                       มาตราส่วน 1:25,000 และแนวทางการจัดการดินตามกลุ่มชุดดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจขึ้น โดยยังคง
                       ใช้หน่วยแผนที่ดิน 62 กลุ่มชุดดิน (ภาพที่ 1) อย่างไรก็ตามเมื่อน าไปใช้ประโยชน์เพื่อการปลูกพืช

                       เศรษฐกิจแล้ว เกษตรกรมักประสบปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสอบลักษณะ และสมบัติกลุ่มชุดดิน ดังนั้น

                       เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจถึงลักษณะ และสมบัติดินกับการจัดการดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจตามกลุ่ม
                       ชุดดิน จึงได้รวมกลุ่มชุดดินเป็นพวกกลุ่มชุดดิน โดยแบ่งตามลักษณะสภาพที่พบได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่

                       ได้แก่ 1) กลุ่มชุดดินในพี้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง 2) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง 3) กลุ่ม

                       ชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น และ 4) กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง ซึ่งกลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่ม
                       จะมีลักษณะเด่นประจ ากลุ่มชุดดิน และสมบัติดินที่เฉพาะตามปัจจัยการเกิดดิน และการสร้างดิน เช่น

                       สภาพภูมิอากาศ ชนิดของวัตถุต้นก าเนิด สภาพพื้นที่ ระยะเวลาการพัฒนาของดิน พืชพรรณ

                       ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2547; ส านักส ารวจดินและ
                       วางแผนการใช้ที่ดิน, 2548)


                               4.1  กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง


                               กลุ่มชุดดินที่ใช้ปลูกข้าวหรือกลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มน้ าขัง เป็นพื้นที่ที่มีน้ าท่วมขังผิวดินในฤดู
                       ฝนหรือมีน้ าท่วมขังนานในรอบปี และมักมีระดับน้ าใต้ดินตื้น ท าให้ไม่เหมาะสมส าหรับการปลูกพืชไร่

                       พืชผัก ไม้ยืนต้นหรือไม้ผล ในฤดูฝน มีพื้นที่ทั้งหมด 68.92 ล้านไร่ พบในทุกภาคของประเทศ สามารถ

                       แบ่งตามลักษณะเด่นประจ ากลุ่มชุดดินได้ 11 กลุ่ม คือ

                               (1) กลุ่มดินเหนียว เป็นพวกกลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียว พบในพื้นที่ราบลุ่มต่ า ใช้ปลูกข้าว

                       ดินบนมีสีเทา สีน้ าตาลปนเทา ดินล่างมีสีเทา มีจุดประสีเหลือง สีน้ าตาลหรือสีแดง การระบายน้ าของ
                       ดินเลวถึงค่อนข้างเลว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลาง บางชุดดินที่พบก้อนปูนปะปนในชั้น


                                                                                                       11
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29