Page 15 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       ดัชนีในการศึกษาความสม่ าเสมอภายในหน้าตัดดินที่ดี หรือเป็นตัวชี้บ่งความสม่ าเสมอของวัตถุต้น

                       ก าเนิดดินที่ดี เพราะเป็นธาตุที่มีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน

                               กรมพัฒนาที่ดินได้ท าการส ารวจและจ าแนกดินไว้มากกว่า 300 ชุดดิน (soil series) การที่

                       จะจัดความเหมาะสมของดินกับการปลูกพืชเศรษฐกิจในแต่ละชุดดินนั้น จะมีเป็นจ านวนมากและเกิด
                       ความสับสนกับผู้ใช้ได้ จึงได้รวบรวมชุดดินที่มีลักษณะ สมบัติและศักยภาพในการเพาะปลูกพืช

                       รวมทั้งการจัดการดินที่คล้ายคลึงกัน มาไว้เป็นกลุ่มดินเดียวกัน สามารถแบ่งดินออกเป็น 62 กลุ่มชุด

                       ดิน เพื่อประโยชน์ในการให้ค าแนะน า การตรวจสอบ ลักษณะดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการ
                       จัดการดินที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป


                               ดินทั้ง 62 กลุ่มชุดดินยังสามารถแบ่งตามลักษณะสภาพที่พบได้อีก 4 กลุ่มดินใหญ่ๆ คือ

                                     (1) กลุ่มชุดดินพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง พบในทุกภาค ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1-25 และ

                       กลุ่มชุดดินที่ 57-59
                                     (2)  กลุ่มชุดดินใ น พื้นที่ดอนเขตดินแห้ง พบในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาค

                       ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกบางพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28, 29, 30, 31, 33, 35, 36,
                       37, 38, 40, 44, 46, 47, 48, 49, 52, 54, 55, 56, 60 และ 61

                                     (3)  กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนเขตดินชื้น พบในภาคใต้ และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาค
                       ตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 26, 27, 32, 34, 39, 42, 43, 45, 50, 51 และ 52

                                     (4)  กลุ่มชุดดินบนพื้นที่ลาดชันสูง พื้นที่ภูเขาและเทือกเขา ที่มีความลาดชัน

                       มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62

                              ลักษณะและสมบัติของกลุ่มชุดดินที่พบตามสภาพพื้นที่ต่างๆ จะมีลักษณะเด่นประจ ากลุ่มดิน

                       ที่แตกต่างกันไป เช่น กลุ่มดินเหนียว กลุ่มดินร่วน กลุ่มดินทราย กลุ่มดินเปรี้ยวจัด กลุ่มดินเค็ม กลุ่ม
                       ดินเลนชายทะเล และกลุ่มดินตื้น เป็นต้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากวัตถุต้นก าเนิดดินที่

                       ส่งผลให้ดินมีลักษณะที่เฉพาะแตกต่างกันไป การทราบองค์ประกอบของธาตุต่างๆ ในแต่ละกลุ่มชุดดิน

                       ประกอบกับข้อมูลการเกิดดิน ชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดิน สมบัติทางกายภาพ เคมี และอื่นๆ ร่วมกัน
                       จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของทรัพยากรดิน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคในการใช้

                       ประโยชน์ทรัพยากรดินแต่ละชนิดหรือในแต่ละกลุ่มชุดดิน เพื่อการปรับปรุงและอนุรักษ์ทรัพยากรดิน

                       ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนตลอดไป












                                                                                                         2
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20