Page 47 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       39



                       3.8 กำรวิเครำะห์ปริมำณอะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้

                              การวิเคราะห์ปริมาณอะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้มีหลายวิธีด้วยกัน แตกต่างกันที่สารละลาย
                       สกัด ทุกวิธีพยายามที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตของพืชและความเป็นพิษของอะลูมินัมในดิน

                       ที่มีพีเอชต่ า สารละลายสกัดบางชนิดมี ionic strength สูง เช่น สารละลาย 1 N KCl ซึ่งสกัดอะลูมิ
                       นัมที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable Al) ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดจากพื้นผิวของดินเหนียว และ
                       อินทรียวัตถุโดยโพแทสเซียมเข้าแทนที่อะลูมินัมที่ exchange sites วิธีวิเคราะห์อื่นๆ เช่น สารละลาย
                       สกัด low ionic strength เช่น 0.01 M CaCl2 เป็นสารละลายสกัดซึ่งจะสกัดได้เฉพาะบางส่วนของ

                       อะลูมินัมทั้งหมดที่ดูดยึดไว้ที่ผิวของดินเหนียวและอินทรียวัตถุเท่านั้น และเป็นวิธีวิเคราะห์ที่ใช้ส าหรับ
                       ชี้บ่งอะลูมินัมส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (Peverill et.al., 1999) ดังนั้นจึงเป็นข้อสงสัยว่า
                       อะลูมินัม (Al) จะเป็นประโยชน์ต่อพืชหรือไม่ บางประเทศเช่น ประเทศออสเตรเลีย ใช้สารละลาย
                       สกัดหลายชนิดแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ และแต่ละพืชด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีความสัมพันธ์ต่อผลผลิต

                       ของพืชหรือไม่ (พจนีย์และชูจิตต์, 2544) อย่างไรก็ตามส าหรับวิธีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการนี้ใช้วิธีสกัด
                       ด้วยสารละลาย 1 N KCl เพื่อน าไปพิจารณาระดับอะลูมินัมที่เป็นพิษต่อพืชซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่วไป

                              วิธีวิเคราะห์ปริมาณอะลูมินัมทีแลกเปลี่ยนได้วิธีหนึ่งคือหลังจากสกัดด้วยสารละลายสกัดแล้ว
                       ไทเทรตหาความเป็นกรดที่แลกเปลี่ยนได้ซึ่งมีทั้งไฮโดรเจนไอออนและอะลูมินัมไอออนด้วยด่าง
                       มาตรฐานหลังจากนั้น ไทเทรตอะลูมินัมไอออนแล้วหักออก จะได้ปริมาณไฮโดรเจนไอออน ดังที่กล่าว

                       มาแล้วข้างต้นในวิธีการที่ 3.7.2 (2) อีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ คือการพัฒนาสีด้วย aluminon (aurin
                       tricarboxylic acid) ซึ่งจะท าปฏิกิริยากับ Al ได้สารละลายสีแดงเข้ม พีเอชที่จะท าให้เกิดสีเห็นชัด
                       ควรจะอยู่ระหว่าง 3.7-4.0 และควรใส่สารละลายบางชนิดคือ acetate buffer จะช่วยแก้หรือปรับ

                       pH ที่แตกต่างกันในแต่ละตัวอย่าง thioglycollicเพื่อแก้ไข สิ่งรบกวน (interference) ที่เกิดจาก
                       เหล็กและ gum acacia จะช่วยให้สารละลายอยู่ในสภาพแขวนลอยคงที่ ส าหรับการก าจัดไอออนที่
                       รบกวนอื่นๆที่เกิดจากฟอสเฟตและซิลิเกตนั้นต้องท าให้สารละลายซึ่งเป็นกรดนั้นร้อนโดยการต้ม การ
                       พัฒนาเป็นสีแดงของ aluminon จะเกิดขึ้นหลังจากทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง และจะคงที่เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

                              อุปกรณ์และเครื่องมือ

                                 1.  เครื่อง UV-Vis Spectrophotometer
                                 2.  อ่างควบคุมอุณหภูมิ (water bath)

                                 3.  เครื่องเขย่า (shaker)
                                 4.  ขวดรูปชมพู่ (erlenmeyer flask) ขนาด 50 mL
                                 5.  กระดาษกรอง whatman เบอร์ 5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12.5 cm

                                 6.  หลอดทดลอง ( test tube) ขนาด 10 mL
                                 7.  บีกเกอร์ (beaker) ขนาด 250 mL
                                 8.  ปิเปตต์ (pipette) ขนาด 2 mL และ 10 mL
                                 9.  กรวยกรอง (funnel)

                                 10. ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask) ขนาด 50 mL, 100 mL, 500 mL และ 1 L
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52