Page 38 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       30



                       3.6 กำรวิเครำะห์ปริมำณเบสที่แลกเปลี่ยนได้

                              การแลกเปลี่ยนแคตไอออนที่เป็นเบส หรือเรียกว่า เบสที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable
                       bases)  คือแคตไอออนที่มีสมบัติเป็นเบสที่คอลลอยด์ดินดูดซับไว้และสามารถแทนที่ได้ โดยทั่วไปจะ
                                                                                  2+
                                                                 +
                                                                    +
                                                                         2+
                       หมายถึงพวก alkaline และ alkaline earth (Na , K , Ca  และ Ca ) ที่เกาะอยู่กับอนุภาคดิน
                       เหนียวและส่วนที่เป็นอินทรียวัตถุ ซึ่งแลกเปลี่ยนกับแคตไอออนอื่นๆในสารละลายดินได้ ปกติแคต
                       ไอออนที่ดูดซับอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียว มีอยู่ 2 ชนิด คือ basic cation และ acidic cation ค่า
                       ของแคตไอออนทั้งสองนี้เมื่อรวมกันจะมีค่าเท่ากับค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC)

                              ส่วนใหญ่ดินที่ใช้ในการเกษตรโดยทั่วไปจะมีปริมาณ Ca  มากกว่าตัวอื่นๆรวมกัน ยกเว้นดิน
                                                                           2+
                                                                       2+
                       บางแห่งที่มาจากเซอร์เพนไทน์ (serpentine) อาจจะมี Mg  มากกว่า Ca  ซึ่งจะพบในดินชั้นล่างที่
                                                                                    2+
                       เป็นกรด การที่ Mg  มีปริมาณสูงเนื่องจากการละลายออกมาจากแร่ดินเหนียวภายใต้สภาพที่เป็น
                                       2+
                       กรด โพแทสเซียมมีมากเป็นอันดับสาม ซึ่งจะผันแปรไปตามชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดินและการใช้
                       ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร ส่วนโซเดียมดินโดยทั่วไปจะมีปริมาณต่ ามาก ยกเว้นดินในบางแห่งที่

                       ได้รับอิทธิพลจากเกลือ เช่น ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็มชายทะเล เป็นต้น

                              3.6.1 วิธี  1 N NH4OAc pH 7

                                     วิธีนี้เป็นการสกัดดินด้วยสารละลาย (NH4OAc) 1 N pH 7 ในอัตราส่วนดินต่อน้ ายา
                       สกัด เท่ากับ 1:10 แล้ววิเคราะห์หาปริมาณ Na, K, Ca และ Mg

                              อุปกรณ์และเครื่องมือ
                                 1.  เครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer (AAS)

                                 2.  เครื่อง Flame Photometer
                                 3.  เครื่องเจือจางสารละลาย (dilutor)
                                 4.  เครื่อง pH meter
                                 5.  เครื่องปั๊มสุญญากาศ (vacuum pump)
                                 6.  ขวดรูปชมพู่ (erlenmeyer flask) ขนาด 125 mL

                                 7.  ขวดกรอง (filtering flask) ขนาด 500 mL
                                 8.  ขวดพลาสติกขนาด 20 L
                                 9.  กรวยบุชเนอร์ (buchner funnel)

                                 10. กระดาษกรอง whatman เบอร์ 5 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 cm
                                 11. หลอดแก้ว (test tube)
                                 12. ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask)

                              สำรเคมีและกำรเตรียมสำรละลำย

                                 1. สารละลายแอมโมเนียมอะซิเตท (ammonium acetate, NH4OAc) 1 N pH 7.0
                                 เตรียมโดยใส่น้ ากลั่นประมาณ 16 L ในขวดพลาสติกขนาด 20 L เติมกรดอะซิติก

                       (glacial acetic acid, 99.5 %) 1,136 mL และสารละลายแอมโมเนีย (NH3 solution, NH4OH, 25
                       %) 1,500 mL แล้วเติมน้ ากลั่นลงไปให้มีปริมาตรประมาณ 19 L ผสมน้ ายาทั้งสองให้เข้ากัน ปรับ pH
                       ของน้ ายาให้เป็น pH 7.0 โดยใช้สารละลายแอมโมเนียหรือกรดกรดอะซิติก แล้วจึงปรับปริมาตรให้
                       เป็น 20 L ด้วยน้ ากลั่น
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43