Page 19 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       11



                                                             บทที่ 3

                                   วิธีวิเครำะห์ดินทำงเคมีเพื่อประเมินควำมอุดมสมบูรณ์ของดิน


                              การวิเคราะห์ดินทางเคมี เพื่อประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้น ผลวิเคราะห์ดินจะ
                       มีความถูกต้อง เชื่อมั่นได้เพียงใด  นอกจากวิธีและขั้นตอนการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องปฏิบัติตามหลัก
                       วิชาการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังขึ้นอยู่กับกระบวนการวิเคราะห์ดินทางเคมี ที่เป็นไปตามวิธีวิเคราะห์ที่
                       เป็นมาตรฐานสากล และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐาน มีความถูกต้อง และความแม่นย าสูง

                              การวิเคราะห์ดินหรือการตรวจสอบดิน หมายถึง การสกัดตัวอย่างดินทางเคมีเพื่อประเมิน

                       ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน โดยมีหลักว่าจะใช้น้ ายาสกัดใดก็ตามส าหรับธาตุหนึ่งๆ หรือ
                       หลายธาตุ โดยเชื่อว่าจะช่วยท าให้ธาตุอาหารในดินออกมากับสารละลายที่ใช้สกัดนั้นได้ใกล้เคียงที่สุด
                       กับธาตุอาหารส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจริงในดิน ดังนั้น หากใช้น้ ายาสกัดที่เหมาะสม ปริมาณธาตุ
                       อาหารที่สกัดได้จะมี ความสัมพันธ์กันกับปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจริง (plant

                       available nutrients)

                               ผลการวิเคราะห์ดินที่น ามาใช้ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่ จะใช้
                       พารามิเตอร์ในการวิเคราะห์หลัก ๆ ได้แก่
                              (1) ปฏกิริยาดิน (pH)
                              (2) ปริมาณอินทรียวัตถุ (organic matter)

                              (3) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus)
                              (4) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (available potassium)
                              (5) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity)

                              (6) ปริมาณเบสที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable bases)
                              (7) ความเป็นกรดที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable acidity)
                                 (8) อะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable aluminum)

                              ส าหรับวิธีวิเคราะห์ปริมาณเบสที่แลกเปลี่ยนได้ ความเป็นกรดที่แลกเปลี่ยนได้ และปริมาณ

                       อะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้ จะน าผลวิเคราะห์ไปใช้ส าหรับการค านวณค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน
                       (CEC by sum) และค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนประสิทธิผล (Effective CEC) ที่จะใช้ในการ
                       ค านวณค่าร้อยละความอิ่มตัวเบส (% base saturation) เพื่อการจ าแนกดินและประเมินความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน

                              ในบทนี้ จะกล่าวถึงวิธีวิเคราะห์มาตรฐาน อุปกรณ์และเครื่องมือ สารเคมีและการเตรียม

                       สารละลาย และการค านวณผลในแต่ละพารามิเตอร์ ส าหรับวิธีการแปลผลค่าวิเคราะห์ดิน และวิธีการ
                       ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน จะได้กล่าวถึงในบทต่อไป
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24