Page 14 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6



                            2.1.2 หลักกำรเก็บตัวอย่ำงดินที่ถูกต้อง

                                 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ผลวิเคราะห์ดินจะมีความถูกต้องและแม่นย าเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ
                       การเก็บตัวอย่างดิน ถ้าเก็บตัวอย่างดินไม่ดีและไม่ถูกต้อง แม้ว่าจะท าการวิเคราะห์ละเอียดสักเพียงใด

                       ก็ตาม ผลวิเคราะห์ที่ได้ออกมาก็ไม่เป็นที่เชื่อถือได้ ท าให้เสียเวลาและสารเคมีที่ใช้วิเคราะห์โดยเปล่า
                       ประโยชน์ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องควรจะค านึงถึง

                                 (1) เวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างดิน เวลาที่จะเก็บตัวอย่างดินอาจท าได้ตลอดปี แต่
                       เวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ในตอนปลายฤดูปลูกหรือภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ทั้งนี้เพราะ
                       ในระยะนี้ถ้าหากดินขาดธาตุอาหารพืช ก็มักจะแสดงให้ปรากฏ และความชื้นในระยะนี้ก็เหมาะแก่การ

                       เก็บตัวอย่างดิน

                                 (2) ความชื้นในดินที่เหมาะส าหรับการเก็บตัวอย่างดิน ไม่ควรเก็บตัวอย่างดินในขณะที่ดิน
                       ยังเปียกมากหรือมีน้ าขังอยู่ เพราะจะยากแก่การคลุกเคล้าให้เข้ากันได้สนิท ความชื้นที่เหมาะกับการ
                       เก็บตัวอย่างอาจท าการทดสอบได้โดยเอาดินนั้นขึ้นมาบีบและก าให้แน่น และเมื่อแบมือออก ดินนั้นไม่
                       ติดมือคงจับกันเป็นก้อนและเมื่อบิออกจะร่วน แสดงว่าความชื้นของดินในระยะนี้เหมาะแก่การเก็บ

                       ตัวอย่างดิน

                                 (3) บริเวณที่เก็บตัวอย่างดิน เป็นส่วนส าคัญที่จะต้องค านึงถึงโดยการสังเกต ไม่ควรเก็บ
                       ตัวอย่างดินในบริเวณที่เป็นคอกสัตว์เก่า จอมปลวก หรือบริเวณที่มีปุ๋ยตกค้างอยู่ จะท าให้ได้ตัวอย่าง
                       ดินที่ไม่เป็นตัวแทนที่ดีของพื้นที่ดินแปลงนั้น

                            2.1.3 ขนำดของแปลงที่จะเก็บตัวอย่ำงดิน

                                 การก าหนดขนาดของแปลงที่จะเก็บตัวอย่างขึ้นอยู่กับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่
                       ชนิดของดิน การชะล้างพังทลายของดิน ความลาดเทของพื้นที่ การระบายน้ าในดิน หรือการปรับปรุง
                       บ ารุงดินที่เคยปฏิบัติไปแล้ว โดยปกติถ้าพื้นที่บริเวณนั้นมีความลาดเทน้อยหรือลักษณะของสภาพ

                       พื้นที่มีความสม่ าเสมอ สามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อยๆ แปลงละประมาณ 10-20 ไร่ ถ้าพื้น
                       ที่ดินมีความลาดเทมาก ก็จ าเป็นต้องแบ่งแปลงให้เล็กลง เพื่อจะได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีในพื้นที่
                       บริเวณนั้นที่ต้องการวิเคราะห์

                                 ในการที่จะเก็บตัวอย่างดินจากแปลงหนึ่งแปลงใดในขั้นต้นจะต้องตรวจดูความแตกต่าง
                       ของพื้นที่ดินแปลงนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน บางครั้งจ าเป็นจะต้องแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยๆ
                       ตามลักษณะแตกต่างของที่ดิน เช่น แบ่งเป็นแปลงย่อยที่มีสีดินต่างกัน เช่น ตอนหนึ่งสีอ่อน อีกตอน
                       หนึ่งสีแก่ไปทางด า หรือดินที่มีความลาดเทต่างกัน หรือการระบายน้ าในดินต่างกัน หรือการปรับปรุง

                       บ ารุงดินที่ปฏิบัติไปแล้วแตกต่างกัน เช่น ใส่ปูน ใส่ปุ๋ยเคมี ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปลูกพืชต่างกันเมื่อแบ่งที่ดิน
                       ออกเป็นแปลงย่อยๆตามลักษณะที่แตกต่างกันได้แล้ว จึงเก็บตัวอย่างดินแยกในแต่ละแปลง

                            2.1.4 วิธีกำรเก็บตัวอย่ำงดิน

                              วิธีเก็บตัวอย่างดิน การเก็บตัวอย่างดินนั้นมีจุดประสงค์ที่จะได้ตัวแทนของดินทั้งหมดในแปลง
                       นั้น ดังนั้น การขุดเจาะ ความลึก และจ านวนหลุมที่เจาะหรือขุดนั้น จะต้องมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน

                       เพื่อที่จะให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดี ควรจะท าดังนี้
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19