Page 24 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       16



                       3.2 กำรวิเครำะห์ปริมำณอินทรียวัตถุ

                              อินทรียวัตถุในดินมีธาตุคาร์บอน (carbon) เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญอยู่ธาตุหนึ่ง ดังนั้นการ
                       หาปริมาณอินทรียวัตถุในดิน สามารถท าได้โดยการใช้สารเคมีท าให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้นกับธาตุ

                       คาร์บอนในอินทรียวัตถุนั้น แล้วค านวณปริมาณคาร์บอนในอินทรียวัตถุจากปริมาณสารเคมีที่ใช้ไป
                       และเมื่อทราบปริมาณคาร์บอนแล้วสามารถน ามาค านวณปริมาณอินทรียวัตถุโดยประมาณได้ โดย
                       อาศัยหลักว่า อินทรียวัตถุในดินมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 58 โดยน้ าหนัก ปริมาณ
                       คาร์บอนที่วิเคราะห์ได้คูณด้วยค่า 1.724 ก็จะได้ค่าอินทรียวัตถุที่ต้องการ

                              การวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีของ Walkley และ

                       Black (1946) เป็ น วิธีที่ เรีย ก ว่า wet oxidation โด ย ก าร oxidized ค าร์บ อ น ให้ เป็ น
                       คาร์บอนไดออกไซด์ด้วย K2Cr2O7 และ H2SO4 แล้ววัดปริมาณ Cr2O7  ที่เหลือโดยการไทเทรตกับ
                                                                                 2-
                       reducing agent โดยมีหลักการดังนี้คือ

                                     1. ใช้ oxidizing agent (K2Cr2O7) ที่มากเกินพอท าปฏิกิริยากับ reducing agent
                       ที่มีอยู่ในดินจนหมด ซึ่งในที่นี้หมายถึงอินทรีย์คาร์บอน

                                     2. ใช้ reducing agent (FeSO4•7H2O หรือ Fe(NH4)2(SO4)2•6H2O) ท าปฏิกิริยา
                       กับ K2Cr2O7 ที่เหลือ
                                     3. ท า blank อีกครั้งโดยไม่รวมดินตัวอย่าง

                                     4. ปริมาณของ FeSO4  ที่ท าปฏิกิริยากับ K2Cr2O7 ใน blank จะน ามาค านวณ
                       ความเข้มข้นที่แท้จริงของ FeSO4

                              เนื่องจากปริมาณของ easily oxidizable material ที่วิเคราะห์ได้นั้นเป็นเพียงการวัด
                       reducing power ของดินเท่านั้น ดังนั้นก่อนที่จะเปลี่ยนให้เป็นปริมาณอินทรียวัตถุก็ต้องผ่าน
                       สมมุติฐานหลายข้อ คือ

                                     (1) ถือว่าไม่มี reducing agent อื่นที่เป็นอนินทรียวัตถุในดินเลย จะมีแต่อินทรีย
                       คาร์บอนเท่านั้นที่ถูก oxidized ในการท าปฏิกิริยาครั้งนี้


                                     (2) ถือว่า equivalent weight ของคาร์บอน ซึ่งถูก oxidized เท่ากับ 3
                                        2K2Cr2O7 + 3C + 6H2SO4                     2K2SO4 + 2Cr2(SO4)3 + 8H2O + 3CO2


                                     (3) ให้ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ recovery ของคาร์บอนในดินเท่ากับ 77 % (Combs
                       and Nathan, 1998 : Weil and Magdaff, 2004) ซึ่งค่านี้ได้มาจากการเปรียบเทียบผลการ
                       วิเคราะห์กับวิธี dry combustion ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ 100 % recovery

                                     (4) อินทรียวัตถุในดินจะมีคาร์บอนอยู่ระหว่าง 48-58 % โดยน้ าหนัก การค านวณ
                       ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ก าหนดให้มีคาร์บอน 58 % ซึ่งเป็นอินทรียวัตถุที่อยู่ในรูปของ

                       คาร์โบไฮเดรต เช่น กลูโคส เป็นต้น

                                   อุปกรณ์และเครื่องมือ
                                     1. ขวดรูปชมพู่ (erlenmeyer flask) ขนาด 250 mL
                                     2. dispensor ขนาด 10 mL และ 50 mL
                                     3. ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask) ขนาด 100 mL และ 2 L
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29