Page 37 - แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580)
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16 แผนบริหารจัดการทรัพยากรดินปัญหาของประเทศไทย
ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)
16
ลานตะพักล าน้ า ที่ราบระหว่างเนิน เนินเขา วัตถุต้นก าเนิดดินมีหลายประเภท ทั้งจากตะกอนน้ าและ
การผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนัก จากหินชนิดต่างๆ มีระดับน้ าใต้ดินอยู่
ลึกกว่า 2 เมตร สภาพการระบายน้ าของดินมีการระบายน้ าดีปานกลาง ดี ไปจนถึงดีมากเกินไป ดินมีสี
เทา น้ าตาล เหลือง แดง อาจพบจุดประสีเล็กน้อย ค่าปฏิกิริยาดินมีตั้งแต่เป็นกรดจัดจนถึงเป็นกลาง
มีความอุดมสมบูรณ์ในระดับค่อนข้างต่ า ซึ่งขึ้นกับกระบวนการทางดินและชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดิน
ประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ 26 27 32 34 39 42 43 45 50 51 และ 53
4) ดินบริเวณที่มีความลาดชันสูง
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
ดินที่พบบริเวณดังกล่าวมีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นก าเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหินหรือ
พื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
หรือป่าดงดิบชื้น ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62
2.1.2 ความเหมาะสมของดิน (soil suitability) ส าหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
การประเมินความเหมาะสมของดินระยะเริ่มแรกเป็นการจัดท าข้อมูลความเหมาะสมของ
ที่ดินตามชั้นสมรรถนะในการเกษตร พ.ศ. 2514 โดยใช้ฐานข้อมูลแผนที่ดิน “The Kingdom of
Thailand General Soil Map” มาตราส่วน 1:1,250,000 ซึ่งมีหน่วยจ าแนกดินระบบประจ าชาติ
(National Soil Classification System) ได้แบ่งหน่วยแผนที่ตามความสามารถในการเพาะปลูกพืช
ออกเป็น 9 หน่วย โดยหน่วยที่ 1-3 มีความเหมาะสมในการปลูกข้าว หน่วยที่ 4-5 มีความเหมาะสมใน
การปลูกข้าวและพืชไร่ หน่วยที่ 6-7 มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ และหน่วยที่ 8-9 ไม่มีความ
เหมาะสมในการปลูกพืช
ต่อมาในการประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา (World Congress of Soil Science) ครั้งที่
17 ที่กรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการน าเสนอข้อมูลความเหมาะสมของดินส าหรับการปลูกพืช
โดยใช้ข้อมูลที่มาจากสภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ สัณฐานวิทยา ลักษณะและสมบัติทางด้านกายภาพ
เคมี แร่วิทยา และระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ร่วมกับแผนที่ General Soils Map of Thailand
มาตราส่วน 1:1,200,000 ที่มีฐานข้อมูลทรัพยากรดินจากแผนที่ดินมาตราส่วน 1:100,000 พบว่า
พื้นที่ร้อยละ 53 มีความเหมาะสมส าหรับท าการเกษตร ประกอบด้วย 1) มีความเหมาะสมส าหรับ
ท านาร้อยละ 26 2) เหมาะสมส าหรับพืชไร่ทั่วๆ ไปร้อยละ 21 3) เหมาะสมส าหรับไม้ยืนต้นในเขตฝนตกชุก
ร้อยละ 5 4) พื้นที่โดยทั่วไปที่ไม่เหมาะสมส าหรับการปลูกพืชต่างๆ แต่อาจน ามาใช้ส าหรับการปลูกพืช
บางอย่างได้ เมื่อมีมาตรการที่เหมาะสมร้อยละ 15 และ 5) พื้นที่ที่ควรสงวนเป็นป่าต้นน้ าล าธาร
บริเวณพื้นที่ภูเขาสูงชันร้อยละ 31
ในปี พ.ศ. 2558 กรมพัฒนาที่ดินได้จ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจ
โดยใช้เกณฑ์การจ าแนกตามคู่มือการจ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย
เอกสารวิชาการ เล่มที่ 453 กองส ารวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งจะจ าแนกความเหมาะสมได้ 5 ชั้น
ประกอบด้วย
- ชั้นความเหมาะสมที่ 1 เป็นชั้นที่ดินมีความเหมาะสมดีมาก (soil very well suited)
- ชั้นความเหมาะสมที่ 2 เป็นชั้นที่ดินมีความเหมาะสมดี (soil well suited)