Page 59 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 59

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          44


                     ตารางที่ 9 ระดับความเร็วลมจากการสังเกตการณ์ความเสียหาย

                               ความเร็วลม
                           (กิโลเมตรต่อชั่วโมง*)                 ความเสียหายจากการสังเกตการณ์

                                   0                       ลมเงียบ ควันลอยขึ้นตรงๆ
                                  1-5                      ควันลอยตามลม แต่ศรลมไม่หันไปตามทิศลม

                                  6-11                     รู้สึกลมพัดที่ใบหน้า ใบไม้แกว่งไกว ศรลมหันไปตามทิศลม
                                 12-19                     ใบไม้และกิ่งไม้เล็กๆ กระดิก ธงปลิว

                                 20-28                     มีฝุ่นตลบ กระดาษปลิว กิ่งไม้เล็กขยับเขยื้อน
                                 29-38                     ต้นไม้เล็กแกว่งไกวไปมา มีระลอกน้ํา

                                 39-49                     กิ่งไม้ใหญ่ขยับเขยื้อน ได้ยินเสียงหวีดหวิว ใช้ร่มลําบาก
                                 50-61                     ต้นไม้ใหญ่ทั้งต้นแกว่งไกว เดินทวนลมไม่สะดวก

                                 62-74                     กิ่งไม้หัก ลมต้านการเดิน
                                 75-88                     อาคารที่ไม่มั่นคงหักพัง หลังคาปลิว

                                 89-102                    ต้นไม้ถอนรากล้ม เกิดความเสียหายมาก(ไม่ปรากฏบ่อยนัก)
                                103-117                    เกิดความเสียหายทั่วไป (ไม่ค่อยปรากฏ)

                                 >117                      เกิดความเสียหายทั่วไป (ไม่ค่อยปรากฏ)

                     หมายเหตุ *หากข้อมูลลมมีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที ต้องคูณด้วย 3.6 ให้เป็น กิโลเมตรต่อชั่วโมง

                                         (23) คุณภาพผลผลิต (quality)
                                             โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO สามารถป้อนข้อมูลด้านปัจจัย
                     ที่มีผลเกี่ยวข้องกับคุณภาพผลผลิตพืช ยกตัวอย่างเช่น ความเหมาะสมของเมล็ดข้าวสําหรับการอบ หรือ

                     ความเหมาะสมสําหรับรสชาติของผลไม้ โดยหากต้องการป้อนข้อมูลด้านคุณภาพดังกล่าวจะต้องระบุปัจจัย
                     (เป็นตัวเลข) ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพผลผลิต ซึ่งสามารถระบุปัจจัยได้เพียงหนึ่งปัจจัยเท่านั้น และการป้อน
                     ข้อมูลนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์ความเหมาะสมของพืช แต่จะเป็นข้อมูลเสริมเท่านั้น

                                      2) แฟ้มข้อมูลดิน (.SL-)

                                         โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  จดจําหน้าตัดดินของชั้นที่มีศักยภาพ
                     ด้วยกัน 3  ชั้น  โดยชั้นดิน 2  ชั้นบนสุดจะยินยอมให้รากพืชผ่านได้หากเนื้อดินมีความเหมาะสม และรากพืช

                     สามารถหยั่งรากลึกได้เพียงพอ ในขณะที่ชั้นดินชั้นที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดจะยินยอมให้เฉพาะน้ํามีการระบาย
                     ผ่านได้ แฟ้มข้อมูลดินในโปรแกรม PLANTGRO ประกอบด้วยข้อมูลนําเข้าต่างๆ ซึ่งแบ่งออกจากกัน 3 ชั้น
                     ได้แก่  ชั้น A  ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ด้านบนสุด  ชั้น B  เป็นชั้นดินที่ถัดลงไป  และชั้น I  เป็นชั้นการซาบซึมน้ําได้

                     (Infiltration zone) ที่อยู่ชั้นล่างสุดของหน้าตัดดิน
                                         ข้อมูลปัจจัยด้านดินที่ใช้ในการนําเข้าโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO

                     จะประกอบด้วยปัจจัยหลัก 13 ปัจจัย ดังคําอธิบายต่อไปนี้

                                         (1) การถ่ายเทอากาศ (aeration) จะเกี่ยวข้องกับความสามารถนําออกซิเจนไปใช้ของ
                     ระบบรากพืช ในสภาพแวดล้อมทั่วไปที่ปรากฎในรอบปี และมีความสัมพันธ์กับขนาดของช่องว่างในดิน โดย
                     สภาพการถ่ายเทอากาศใช้ข้อมูลเนื้อดินร่วมในการพิจารณา แบ่งออกได้ 6 ระดับ ดังตารางที่ 10
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64