Page 61 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          46


                                         โดยที่ความลึกของชั้น A + ชั้น B  จะต้องเท่ากับความลึกของหน้าตัดดินทั้งหมด
                     (depth overall) เสมอ ความลึกของชั้น A และชั้น B เกี่ยวข้องกับการนําน้ําไปใช้ได้ของพืช ในขณะที่ความ

                     ลึกของชั้น I จะมีอิทธิพลต่อการระบายของน้ําส่วนเกิน

                                         (5) ไนโตรเจน (nitrogen) เป็นธาตุอาหารหลักในการเจริญเติบโตของพืช มีหน่วย
                     เป็นเปอร์เซนต์ (%) ซึ่งระดับไนโตรเจน แบ่งได้ 4 ระดับ ดังตารางที่ 13

                     ตารางที่ 13 ระดับปัจจัยปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด

                                             ระดับ               ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด(%)

                                   ต่ํามาก (very Low)                       <0.1
                                   ต่ํา (low)                              0.1-0.2

                                   ปานกลาง (moderate)                      0.2-0.5
                                   สูง (high)                              0.5-0.7

                                         (6) ปฏิกิริยาดิน (pH) ปฏิกิริยาดินเป็นค่ามาตรฐานของการวัดความเป็นกรดเป็น

                     ด่างไม่มีหน่วย ซึ่งระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินแบ่งได้ 4 ระดับ ดังตารางที่ 14

                     ตารางที่ 14 ระดับปัจจัยความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

                                             ระดับ                           pH

                                   กรดจัดมาก (very acid)                   3.5-4.0
                                   กรดอ่อน (weakly acid)                   4.0-5.5
                                   เป็นกลาง (neutral)                      5.5-6.8

                                   เป็นด่าง (alkaline)                     6.8-8.4

                                         (7) ฟอสฟอรัส (phosphorus,  P) เป็นธาตุอาหารหลักในการเจริญเติบโตของพืช
                     ของฟอสฟอรัสในรูปใช้ประโยชน์ได้ ในโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  กําหนดให้ใช้ค่าที่ได้
                     จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการของ Olsen ซึ่งระดับฟอสฟอรัส แบ่งได้ 4 ระดับ ดังตารางที่ 15


                     ตารางที่ 15 ระดับปัจจัยฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์

                                                               ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
                                             ระดับ
                                                                     (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)

                                   ต่ํามาก (very low)                       0-30
                                   ต่ํา (low)                              30-60

                                   ปานกลาง (moderate)                      60-90
                                   สูง (high)                               >90

                                         (8) โพแทสเซียม (potassium, K) เป็นธาตุอาหารหลักในการเจริญเติบโตของพืช มีหน่วย
                                                 -1
                     เป็นเซนติโมลต่อกิโลกรัม (cmol kg ) ซึ่งระดับโพแทสเซียม แบ่งได้ 3 ระดับ ดังตารางที่ 16
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66