Page 55 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          40


                     คุณภาพผลผลิต นอกจากนี้ ในส่วนของแถว Z ซึ่งอยู่ในตําแหน่ง Z10 จะมีความสําคัญในการใส่ค่าตัวเลือก
                     ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านพืชโดยใช้ตัวเลขประมาณการด้วย  ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการ

                     เจริญเติบโตของมันสําปะหลัง ประกอบด้วย 23 ปัจจัย ดังคําอธิบายต่อไปนี้

                                         (1) การถ่ายเทอากาศ (aeration)
                                            โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ได้แบ่งชั้นการถ่ายเทอากาศของดิน
                     ออกเป็น 6 ระดับ โดยเริ่มจากชั้นที่มีน้ําท่วมขังไปจนถึงชั้นที่มีการถ่ายเทอากาศดี ลักษณะการถ่ายเทอากาศจะ

                     พิจารณาจากอิทธิพลของน้ําฝนที่มีต่อการนําออกซิเจนไปใช้ได้ของพืชในภาวะที่เกิดการแช่ขังของน้ําตาม
                     ฤดูกาล ซึ่งการถ่ายเทอากาศมีการแบ่งระดับ ออกเป็น 6 ระดับ ดังตารางที่ 6

                     ตารางที่ 6 ระดับปัจจัยสภาพการถ่ายเทอากาศ

                                ระดับ                        สภาพการถ่ายเทอากาศ
                                  1          น้ําท่วมขัง เป็นลักษณะน้ํานิ่ง และเน่า [swampy (stagnant)]

                                  2          น้ําท่วมขัง ที่น้ํามีการไหล [swampy (moving)]

                                  3          ดินเหนียวอิ่มตัว หรือพองตัวด้วยน้ํา (swelling clay)
                                  4          การถ่ายเทอากาศไม่ดี (poor)
                                  5          การถ่ายเทอากาศไม่ค่อยดี (imperfect)

                                  6          การถ่ายเทอากาศดี (well aerated)

                                         (2) ความอิ่มตัวเบส (base saturation)
                                            พืชไม่มีการตอบสนองโดยตรงต่อความอิ่มตัวเบส ด้วยเหตุผลนี้ค่าความอิ่มตัว

                     เบสในโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO จึงเป็นค่าบ่งชี้ที่ไม่รุนแรงจนเป็นเหตุให้พืชตาย

                                         (3) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity; CEC)
                                            ความอิ่มตัวเบสจะบ่งชี้ถึงสัดส่วนของความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนที่มีประโยชน์
                     ต่อพืช และเช่นเดียวกันกับปัจจัยค่าความอิ่มตัวเบส พืชจะไม่ตอบสนองโดยตรงต่อความจุแลกเปลี่ยนแคต
                     ไอออน ดังนั้น ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนจึงเป็นค่าบ่งชี้ที่ไม่รุนแรงจนเป็นเหตุให้พืชตาย

                                         (4) ความลึกของดิน (soil  depth) ที่รากพืชสามารถหยั่งถึงได้ โดยไม่มีข้อจํากัดใน

                     การเจริญเติบโต
                                            โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO จะยอมรับให้รากพืชสามารถหยั่ง
                     รากลงดินได้ 2 ชั้น (layer A และ layer B) และใต้ชั้นดินทั้งสองชั้นดังกล่าวจะเป็นชั้นที่น้ําสามารถแทรกซึมลงได้
                     (infiltration zone) แต่รากพืชไม่สามารถหยั่งรากลงไปได้


                                         (5) ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (total nitrogen)
                                            ในการสร้างแฟ้มข้อมูลพืชจะมีตัวเลือกความสัมพันธ์ให้เลือก 6  ตัวเลือก โดย
                     ตัวเลือก 1-3 ใช้ในกรณีของพืชที่มีการตอบสนองตามกฏของ Liebig (Hackket, 1998) และต้องป้อนข้อ
                     มูลค่าไนโตรเจนด้วยกัน 4 ค่า ได้แก่ NA NB NC และ ND ส่วนตัวเลือก 4-6 นั้น ใช้ในกรณีของพืชที่มีการ
                     ตอบสนองต่อไนโตรเจนต่างจากตัวเลือก 1-3 และต้องป้อนข้อมูลค่าไนโตรเจนด้วยกัน 5 ค่า ได้แก่ NA NB

                     NC ND และ NE โดยค่า NA จะกําหนดให้เป็นศูนย์ (0) เสมอ และควรหลีกเลี่ยงตัวเลือกที่ 1 และ 4 ใน
                     กรณีของพืชที่มีการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงมาก
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60