Page 64 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 64

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          49


                                         (13) ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ (drainable water capacity, DRWC%) เป็น
                     ส่วนของน้ําที่ระบายออกอย่างอิสระจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ํา ซึ่งโดยปกติแล้วน้ําส่วนนี้เป็นน้ําที่อยู่ในช่องว่างขนาด

                     ใหญ่ของดิน มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ในโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO แบ่งความจุของ
                     น้ําที่สามารถระบายได้ตามชนิดของเนื้อดินลักษณะต่างๆ ดังตารางที่ 20

                     ตารางที่ 20 ระดับปัจจัยความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ตามลักษณะเนื้อดิน

                                                                              ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้
                      ระดับ       ลักษณะเนื้อดิน          ค่าเนื้อดิน
                                                                                      (DRWC%)
                        8    Clay-swelling             1 = swelling clay   ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ต่ํา

                        8    Clay-heavy                2 = heavy clay    ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ต่ํา
                       10    Mud                       3 = fine clay     ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ต่ํา

                       13    Clay-medium               3 = fine clay     ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ต่ํา
                       13    Clay-light                4 = loam          ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ต่ํา

                       13    Loam with clay            4 = loam          ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ต่ํา
                       16    Loam                      4 =  loam         ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ปานกลาง

                       16    Sand with some clay       4 = loam          ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ปานกลาง
                       18    Loam with sand            4 = loam          ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ปานกลาง

                       22    Sand with some silt       4 = loam          ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ปานกลาง
                       22    Sand with some loam       4 = loam          ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ปานกลาง

                       25    Sand-compacted             5 = sand         ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้สูง
                       35    Sand-loose                5 = sand          ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้สูงมาก

                       40    Gravel or stone           6 = gravel        ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้สูงมาก
                       40    Rocky                     7 = rocky         ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้สูงมาก

                       20    Organic, peaty            8 = peat          ความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ปานกลาง

                                      3) แฟ้มข้อมูลภูมิอากาศ (.CMV)

                                         ข้อมูลภูมิอากาศจะถูกนําไปใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลพืชเพื่อใช้ทํานายการ
                     เจริญเติบโตของพืช เป็นข้อมูลที่บันทึกค่าตัวแปรของปัจจัยทางภูมิอากาศต่างๆ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต

                     ของพืชทั้งสิ้น 12 ปัจจัย ดังคําอธิบายต่อไปนี้

                                         (1) ปริมาณน้ําฝน (rainfall) เป็นปริมาณน้ําฝนทั้งหมดตามช่วงเวลาของข้อมูล
                     (รายเดือน/รายสัปดาห์/ราย 10 วัน) แสดงหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรโดยใส่ตัวเลขเป็นจํานวนเต็มไม่มีทศนิยม

                                         (2) การระเหยของน้ํา (evaporation) เป็นปริมาณคายระเหยของน้ําทั้งหมด ตาม
                     ช่วงเวลาของข้อมูล (รายเดือน/รายสัปดาห์/ราย 10 วัน) โดยใช้ค่า Pan Evaporation ของกรมอุตุนิยมวิทยา
                     แสดงหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรโดยใส่ตัวเลขเป็นจํานวนเต็มไม่มีทศนิยม

                                         (3) การให้น้ํา (Irrigation) เป็นปริมาณการให้น้ําทั้งหมดตามช่วงเวลาของข้อมูล

                     (รายเดือน/รายสัปดาห์/ราย 10 วัน) แสดงหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรโดยใส่ตัวเลขเป็นจํานวนเต็มไม่มีทศนิยม
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69