Page 56 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          41


                                         (6) ปฏิกิริยาดิน (pH)
                                            การสร้างแฟ้มข้อมูลพืชมีตัวเลือกความสัมพันธ์โดยใช้ตัวเลขประมาณการให้

                     เลือกเพียงตัวเลือกเดียว แต่ต้องป้อนค่า PH 4 ค่า คือ ค่า PHA PHB PHC และ PHD ซึ่งค่า PHA และ PHB
                     จะเป็นช่วงค่า pH ที่มีความเป็นกรด ซึ่งพืชสามารถทนได้ ส่วนค่า PHC และ PHD จะเป็นช่วงค่า pH ที่มี
                     ความเป็นด่าง ซึ่งพืชสามารถทนได้ โดยค่า PHB  และ PHC  สามารถป้อนค่า pH  เป็นค่าเดียวกันได้ การ
                     จําลองผลผลิตพืชด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  ค่า PHA  และ PHD  เกี่ยวข้องกับ

                     ระดับความเหมาะสมของดินในการปลูกพืช หากค่า pH  ที่ป้อนในแฟ้มข้อมูลดินมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า
                     PHA และมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า PHD จะมีผลทําให้พืชไม่ได้ผลผลิต หรือตาย
                                            ค่า PHA ถึง PHD เกี่ยวข้องกับความชอบ และความสามารถในการทนได้ของ

                     พืชแต่ละชนิดต่อระดับค่า pH ในดิน โดยเกณฑ์การป้อนค่าดังกล่าว มีรายละเอียดดังตารางที่ 7
                     ตารางที่ 7 ระดับปัจจัยความเป็นกรดเป็นด่างสําหรับพืช


                           ระดับความเป็นกรด-ด่าง และการป้อนค่า PHA-D    PHA      PHB      PHC     PHD
                             กรดจัดมาก (very acid)                        2.5     4.0     4.5      5.5

                             กรด (acid)                                   3.7     5.0     5.5      6.7
                             กลาง (neutral)                               5.0     6.5     6.8      8.0

                             ด่าง (alkaline)                              6.3     7.5     8.5     10.0
                             ด่างจัดมาก (very alkaline)                   7.5     9.0     10.5    12.0
                             กรดจัดมากถึงกลาง (very acid to neutral)      2.5     4.0     6.8      8.0

                             กลางถึงด่าง (neutral to alkaline)           5.0      6.5     8.5     10.0

                                         (7) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus)

                                            ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารพืชที่สําคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช หน่วยที่ใช้ใน
                                                      -1
                     การวัดเป็น มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (mg kg ) ค่าฟอสฟอรัสในโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO
                     กําหนดให้ใช้ค่าที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์แบบ Olsen สําหรับการป้อนค่า แต่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้วิธีการ
                     วิเคราะห์ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์โดยวิธี Bray  II  ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานของห้องปฏิบัติการเพราะมี

                     ความเหมาะสมกับสภาพปฏิกิริยาดิน (pH) ของดินในประเทศไทย โดยสามารถเปรียบเทียบปริมาณ
                     ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไปเป็นวิธีของ Olsen ได้จาก London, J.R. ed (1984) และมีข้อควรพิจารณา
                     ในกรณีของพืชที่มีไมคอร์ไรซาช่วยในการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัสในดิน ให้หารค่าสูงสุดด้วย 3 หรือ ค่าอื่นๆ ที่
                     พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม

                                         (8) โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable potassium)

                                            โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารพืชที่สําคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอิทธิพลอย่างยิ่ง
                                                                            -1
                     ต่อการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรตในพืช หน่วยที่ใช้ในการวัดเป็น cmol kg
                                         (9) ความเค็ม (salinity)
                                            โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO  ประเมินความเค็มในรูปแบบ
                                                              -1
                     ทั่วไป โดยใช้หน่วยเป็นเดซิซีเมนส์ต่อเมตร (dS m )
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61