Page 62 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          47


                     ตารางที่ 16 ระดับปัจจัยปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้

                                                               ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
                                             ระดับ                               -1
                                                                         (cmol kg )

                                   ต่ํา (low)                               < 0.3
                                   ปานกลาง (moderate)                      0.3-0.4

                                   สูง (high)                              0.4-0.6

                                                                                            -1
                                         (9) ความเค็ม (salinity) มีหน่วยเป็นเดซิซีเมนส์ต่อเมตร (dS m ) เป็นช่วงขีดจํากัด
                     ของค่าความเค็มที่พืชสามารถทนได้ โดยทั่วไปของพืชอยู่ระหว่าง 0-20 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร

                                         (10) ความลาดชัน (slope) เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในการทรงตัวของพืช มีหน่วย

                     เป็นองศา (degree) ซึ่งแบ่งความลาดชันออกเป็น 6 ระดับ ดังตารางที่ 17

                     ตารางที่ 17 ระดับปัจจัยความลาดชัน

                                                                         ความลาดชัน
                                         ระดับ
                                                                  องศา               เปอร์เซ็นต์

                                เกือบไม่มีเลย (Virtually Nill)      0                    0
                                ลาดชันเล็กน้อย (Slight)            1-7                0.7-12.3

                                ลาดชันสูง (Significant)           8-15                14.1-26.9
                                สูงชันปานกลาง (Substantial)       16-25               28.7-46.4

                                สูงชัน (Steep)                    26-45              48.9-100.0
                                สูงชันมาก (Very Steep)            >45                  >100.0


                                         (11) เนื้อดิน (texture) ในโปรแกรม PLANTGRO  มีความเกี่ยวข้องกับความสามารถ
                     ของรากพืชและชิ้นส่วนต่างๆ ของพืชที่สามารถหยั่งลึกลงดินได้ และมีอิทธิพลในการประเมินสถานภาพของ
                     น้ําในดิน โดยจะใช้เนื้อดินสําหรับประเมินความจุน้ําใช้ประโยชน์ได้ (available water capacity, AWC%)
                     และค่าความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ (drainable water capacity, DRWC%) เป็นการเบื้องต้นได้ แต่
                     มีข้อควรระวังในการประเมินค่าจากเนื้อดินในดินที่มีลักษณะเป็นดินเหนียวสีแดง เช่น ชุดดินปากช่อง (Pc)

                     ที่เนื้อดินเป็นดินเหนียวแต่มีความพรุนสูง โครงสร้างดินดี น้ําซึมผ่านชั้นดินได้ปานกลาง ความสามารถในการ
                     อุ้มน้ําต่ําถึงปานกลาง ซึ่งความจุน้ําใช้ประโยชน์ได้ (available water capacity, AWC%)  และค่าความจุ
                     ของน้ําที่สามารถระบายได้ (drainable water capacity, DRWC%) ไม่ได้อยู่ในระดับความสามารถในการ

                     อุ้มน้ําสูงและความจุของน้ําที่สามารถระบายได้ต่ํา จึงไม่สามารถใช้เนื้อดินประเมินค่าเหล่านี้ ในดินประเภท
                     นี้ได้ถูกต้องนัก โดยในโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO สามารถแบ่งเนื้อดินออกเป็น 8 ระดับ
                     ดังตารางที่ 18
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67