Page 54 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          39


                                      2) สร้างฐานข้อมูลภูมิอากาศจากข้อมูลภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วง
                     ระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2547-2556) โดยนําข้อมูลจุดพิกัดสถานีตรวจวัดภูมิอากาศ มาสร้างขอบเขตพื้นที่

                     ข้อมูลภูมิอากาศโดยใช้วิธี Theissen Polygon และกําหนดรหัสเขตภูมิอากาศ เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล
                     ระหว่างแบบจําลองการปลูกพืชและการแสดงผลเชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

                                      3) สร้างหน่วยแผนที่การจําลอง (simulation mapping unit : SMU) ได้จากการซ้อนทับ
                     (overlay) ชั้นข้อมูลดิน ชั้นข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และชั้นข้อมูลเขตภูมิอากาศ ด้วยระบบสารสนเทศ

                     ภูมิศาสตร์
                                7.2.2 การเก็บข้อมูลภาคสนาม


                                      1) กําหนดจุดเก็บข้อมูลการสํารวจ (soil  observation) โดยวิธีการบันทึกแบบสอบถาม
                     เกษตรกรด้วยวิธีการสัมภาษณ์ (ตารางภาคผนวกที่ 1) สํารวจตามหน่วยแผนที่จําลองของพื้นที่ปลูกมัน
                     สําปะหลังจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้จากการซ้อนทับข้อมูลดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และข้อมูลเขต
                     ภูมิอากาศ (theissen polygon)

                                      2) ศึกษาและบันทึกข้อมูลดินในพื้นที่แปลงปลูกมันสําปะหลังของเกษตรกร โดยการ

                     บันทึกภาพถ่ายสภาพพื้นที่ หน้าตัดดิน และข้อมูลดินในภาคสนาม ตัวอย่างเช่น ความลึก สีดิน เนื้อดิน และ
                     ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เป็นต้น (ภาพภาคผนวกที่1)

                                7.2.3 การใช้โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO ประเมินกําลังผลิตมันสําปะหลัง

                                      สร้างแฟ้มข้อมูลนําเข้า และจําลองการปลูกพืชด้วยโปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช
                     PLANTGRO  ซึ่งโปรแกรมจะคํานวณโดยการใช้ตัวเลขประมาณการ (notional relationships) ของปัจจัย
                     จากแฟ้มข้อมูลพืช ดิน และภูมิอากาศ โดยมีรูปแบบและหลักเกณฑ์การสร้างแฟ้มข้อมูลสําหรับใช้ใน

                     โปรแกรมแบบจําลองการปลูกพืช PLANTGRO (Hutchinson, 2005) ดังนี้

                                      1) แฟ้มข้อมูลพืช (.PGN)

                                         รูปแบบของแฟ้มข้อมูลพืช ประกอบด้วย ค่าตัวเลขต่างๆ ที่จัดเรียงในรูปแบบ
                     ความสัมพันธ์ของการคํานวณโดยใช้ตัวเลขประมาณการที่แยกส่วนตามแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อพืช ซึ่งความหมาย
                     ของค่าตัวเลข และการจัดเรียงตามรูปแบบของแฟ้มข้อมูลพืช (ภาคผนวกที่ 3) มีข้อสังเกตหลักๆ ดังนี้

                                         - ตัวเลข 111 และ 999 หมายถึง การสิ้นสุดของข้อมูลที่ค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยมี
                     ผลต่อพืช โดยแถว Y เป็นเลข 111 และ แถว X เป็นเลข 999 ขณะที่ แถว Z เป็นเลข 0 ซึ่งหมายถึงไม่มีข้อมูล

                                         - แถว Y แสดงระดับความเหมาะสม (suitability rating : SR) ที่ระดับต่างๆ ตาม
                     ความต้องการของพืช ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านพืชในแถว X โดยระดับความเหมาะสม
                     มีการแบ่งไว้ 9 ระดับ ได้แก่ SR = 0 - 9 (ไม่เหมาะสม - เหมาะสม) ตามลําดับ

                                         - แถว X แสดงระดับค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านพืชเป็นระดับค่าที่อ้างอิงจากความ
                     ต้องการของพืช (crop requirement) โดยเรียงลําดับจากค่าน้อยไปหาค่ามาก
                                         - แถว Z  แสดงข้อมูลเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
                     ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านพืชกับระดับความเหมาะสมระหว่างแถว X กับแถว Y โดยค่าข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ที่
                     ต้องป้อนในแถว Z นี้ จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยในด้านความลึกของรากพืชที่สามารถหยั่งลึกได้โดยไม่มีข้อจํากัด

                     ในการเติบโต อุณหภูมิต่ําสุดที่เริ่มส่งผลกระทบต่อพืช อุณหภูมิเฉลี่ยต่ําสุดที่พืชสามารถทนได้ อุณหภูมิสูงสุด
                     ที่ส่งผลกระทบต่อพืช หน่วยพลังงานความร้อน  น้ําที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  จํานวนวันของน้ําท่วมขัง และ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59