Page 21 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        10







                                  2.2.2 การเสื่อมโทรมทางเคมี
                                     1) การท าให้ธาตุอาหารพืชหมดไปจากดิน (Nutrient Depletion)
                                     2) การชะล้าง (Leaching)
                                     3) การท าให้ดินเป็นกรด (Acidification)

                                     4) การท าให้ดินเป็นดินเค็ม (ดินเกลือ) (Salinization)
                                     5) มลพิษของดิน (Soil Pollution)
                                  2.2.3 การเสื่อมโทรมทางชีวภาพ

                                     1) การท าให้อินทรียวัตถุในดินหมดสิ้นไป
                                     2) ความหลากหลายทางชีวภาพของดินลดลง
                                2.3 ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดินแต่ละด้าน
                                      กรมพัฒนาที่ดิน (2558) รายงานว่า องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้
                       คิดค้นวิธีการประเมินความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดท าโปรแกรม

                       ลาดา (Regional Land Degradation Assessment in Dry lands – LADA) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์
                       ประเมินความเสื่อมโทรมของดินในพื้นที่แห้งแล้ง ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดินสามารถระบุได้จาก
                       กระบวนการเกิดการเสื่อมโทรมของดินมีดังนี้

                                     2.3.1 ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดินทางเคมี คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง
                       การขาดความสมดุลของธาตุอาหารและปริมาณคาร์บอน ดินเกิดสภาพกรด ด่างและดินเค็ม
                                     2.3.2 ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดินทางชีวภาพ คือ การลดลงของอินทรียวัตถุและ
                       ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งกระทบต่อการท าหน้าที่ของดิน รวมถึงการถูกรบกวนจากสัตว์

                       และมนุษย์
                                     2.2.3 ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดินทางกายภาพ คือ ความหนาแน่นของดิน การ
                       เกิดแผ่นแข็งหน้าดินและการอัดตัวแน่นของดินจากการตกกระทบของเม็ดฝน การเหยียบย่ าจากสัตว์
                       และเครื่องจักร การสูญเสียโครงสร้างของหน้าดินและอินทรียวัตถุจ านวนมาก หรือจากการไถพรวนที่

                       ไม่เหมาะสม
                                     2.3.4 ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดินจากความสามารถในการเก็บกักน้ าลดลง คือ
                       ความสามารถในการเก็บกักรักษาความชื้นในดินได้น้อยลง
                                     2.3.5 ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดินจากการชะล้างและการสูญเสียหน้าดินจากน้ า

                       และลม คือ การกร่อนดินแบบแผ่น ริ้วและร่องธารและการทับถมของตะกอนจากธารน้ า
                                2.4 มาตรการที่ใช้เพื่อฟื้นฟูสมบัติของดินในแต่ละด้าน
                                      2.4.1 มาตรการที่ใช้ในการฟื้นฟูสมบัติของดินทางเคมี คือ การเพิ่มความอุดม

                       สมบูรณ์ของดิน ด้วยการเพิ่มธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี การรักษาความสมดุลของธาตุ
                       อาหารด้วยการอนุรักษ์ดินและน้ า
                                      2.4.2 มาตรการที่ใช้ในการฟื้นฟูสมบัติของดินทางชีวภาพ คือ การเพิ่มคาร์บอน
                       อินทรีย์ของดินจากวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ หญ้าแฝก เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุและ
                       ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในดินและใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อปูองกันไม่ให้เกิดการสูญเสีย

                       ดิน
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26