Page 23 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        12







                       และมีเหล็กเพียงเล็กน้อย  กรดฟูลวิคเป็นตัวส าคัญในการจับตัวของอลูมินัมและเหล็ก การตกตะกอน
                       ของสารประกอบออร์กาโนมีทัลลิค  แต่การแห้งและเปียกของดินเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท าให้เกิดการ
                       ตกตะกอน ดินทรายจัดที่มีชั้นดานอินทรีย์ ลักษณะของดินทรายจะมีลักษณะเฉพาะตัวคือ ช่วงชั้นดิน
                       ตอนบนเป็นทรายสีขาว ถัดลงไปในระดับความลึก 60-80 เซนติเมตร พบชั้นทรายสีน้ าตาลปนแดง ซึ่ง

                       มีลักษณะเป็นดาน  เกิดจากการสะสม  หรือ  ตกตะกอนของสารประกอบพวกเหล็กฮิวมัส  ดินทราย
                       ประเภทนี้ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้และภาคตะวันออก  มีเนื้อที่  513,928  ไร่  หรือ
                       ประมาณร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (เอิบ, 2533)

                                             2) ดินทรายจัดที่ไม่มีชั้นดาน เป็นดินทรายที่พบทั่ว ๆ ไปตามชายหาดหรือชายฝั่ง
                       ทะเล และพื้นที่เป็นทรายในภาคต่าง ๆ ดินประเภทนี้มีพื้นที่ 6,613,157 ไร่หรือประมาณร้อยละ 2.06

                       ของพื้นที่ทั้งประเทศ เป็นดินที่มีเกือบทุกภาคของประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                       ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ (เอิบ, 2533)


                                      ปัญหาและข้อจ ากัดของดินทรายจัด ดินทรายจัดเป็นดินที่มีเนื้อดินเป็นทราย หรือดิน
                       ร่วนปนทราย เกิดเป็นชั้นหนามากกว่า 50 เซนติเมตร มีแร่ควอร์ต (quartz) เป็นส่วนประกอบส าคัญ

                       เนื้อดินค่อนข้างหยาบ มีสภาพเป็นกรดมีค่าค่าพีเอชของดินประมาณ 5 – 6 มีปริมาณธาตุอาหาร ตาม
                       ธรรมชาติต่ า ตลอดจนความสามารถในการดูดธาตุอาหารต่ า มีอินทรียวัตถุต่ ามาก ธาตุโพแทสเซียม

                       และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ า ความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนต่ ามาก เป็นเหตุให้การ

                       ใช้ปุ๋ยเคมีให้ผลตอบสนองต่อพืชต่ า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2540) ดินทรายจัดในบางบริเวณจะมีชั้นดานใน
                       ชั้นล่าง  โดยมีลักษณะเฉพาะคือ  ดินบนจะเป็นดินทรายสีขาว  ถัดลงไปในระดับความลึก  60-80

                       เซนติเมตร จะพบชั้นดานอินทรีย์ (Spodic horizon) ที่มีดินทรายสีน้ าตาลปนแดง หนามากกว่า 10

                       เซนติเมตร ซึ่งเกิดจากการสะสมของสารประกอบพวกเหล็ก และอินทรียวัตถุ ชั้นนี้แข็งมากจนพืชไม่
                       สามารถชอนไชลงไปได้ ดินประเภทนี้พบตามชายฝั่งทะเลของภาคใต้และภาคตะวันออก บริเวณที่เป็น

                       สันทรายเก่า  ความสามารถในการอุ้มน้ าต่ า  ในฤดูแล้งจะขาดน้ า  ส่วนในฤดูฝนจะเกิดน้ าท่วมขัง
                       เนื่องจากน้ าซึมผ่านลงไปได้ช้า ทั้งนี้เนื่องจากน้ าไม่สามารถไหลผ่านชั้นดานอินทรีย์ลงไปได้ เหนือชั้น

                       ดานอินทรีย์มีชั้นดินที่ถูกชะล้างธาตุอาหารพืชถูกชะล้างไปมาก  ดินเหล่านี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                       เป็นผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้


                                2.6  พื้นที่ได้รับผลกระทบจากเกลือ
                                    2.6.1 ดินเค็ม
                                           ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือประมาณ 19.7 ล้านไร่ โดยพบมาก

                       ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้มีพื้นที่ประมาณ 17.8 ล้านไร่ (เอิบ, 2550) ซึ่ง
                       ดินเค็มหรือดินที่ได้รับอิทธิพลจากเกลือเป็นปัญหาส าคัญในการใช้ที่ดินและการจัดการดินในทาง
                       การเกษตร เนื่องจากเกลือที่พบส่วนใหญ่คือเกลือโซเดียมซึ่งเป็นสารประกอบของโซเดียมกับคลอรีน
                       (เอิบ,  2550)  เมื่อมีมากจนเกินไปจะส่งผลท าให้เกิดความเป็นพิษแก่พืชมีผลท าให้พืชไม่สามารถ

                       เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และท าให้มีผลผลิตมีคุณภาพต่ า ปัญหาเรื่องดินเค็มไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28