Page 22 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        11







                                      2.4.3 มาตรการที่ใช้ในการฟื้นฟูสมบัติของดินทางกายภาพ คือ การปูองกันดินไม่ให้
                       เกิดแผ่นแข็งหน้าดินและการอัดตัวแน่นของดิน จากการตกกระทบของเม็ดฝน การเหยียบย่ าจากสัตว์
                       และหรือเครื่องจักร การสูญเสียโครงสร้างของหน้าดินและอินทรียวัตถุจ านวนมาก หรือจากการไถ
                       พรวนที่ไม่เหมาะสม ด้วยการปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การใช้วัสดุคลุมดิน การเพิ่ม

                       อินทรียวัตถุจากเศษพืช การเพิ่มความสามารถในการเก็บกักรักษาความชื้นในดินให้เพิ่มขึ้น
                                2.5 ดินทรายจัด และดินทรายชายทะเล

                                          ดินทรายจัด หมายถึง ดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทราย หรือ ดินทรายร่วน และมีความ
                       หนามากกว่า 50 เซนติเมตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
                                              - ดินทรายที่มีเนื้อเป็นทราย หรือ ทรายร่วนหนากว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1
                       เมตร  จากผิวดินบน  ส่วนดินชั้นล่างลงไปจะเหนียวขึ้น  ดินทรายกลุ่มนี้พบมากในภาค

                       ตะวันออกเฉียงเหนือ
                                            - ดินทรายที่มีเนื้อดินเป็นทราย หรือทรายร่วนหนากว่า 1 เมตร แต่ไม่เกิน 2 เมตร
                       คือ ภายใน 2 เมตรจะพบชั้นดิน ที่ร่วนบนดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายเกิดขึ้น ดินทรายกลุ่มนี้พบ
                       มากเช่นเดียวกับกลุ่มแรก

                                             - ดินทรายที่มีเนื้อดินเป็นทรายและทรายร่วนหนากว่า 2 เมตร ซึ่งพบเป็นพื้นที่ไม่
                       มาก
                                          จากลักษณะที่กล่าวมาพบว่า  เนื้อดินจะเป็นทรายปะปนอยู่ตั้งแต่ผิวดินลงไปจนถึง
                       ความลึกเกินไปกว่า 1 เมตร เกิดจากหินทราย (Sandstone) ซึ่งมีแร่ควอตซ์ (Quartz) (ยงยุทธ และ

                       คณะ, 2547) เป็นส่วนประกอบส าคัญ เนื้อดินค่อนข้างหยาบมีสภาพเป็นกรด pH ประมาณ 5-6 มี
                       ปริมาณธาตุอาหารตามธรรมชาติ ตลอดจนมีความสามารถในการดูดธาตุอาหารต่ า มีอินทรียวัตถุต่ า
                       มาก โดยเฉลี่ยจะน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ คุณสมบัติทางกายภาพของดินไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช

                       บางแห่งมีการจับตัวเป็นชั้นดานแข็งขึ้น  บริเวณที่มีเนื้อดินเป็นทรายละเอียดเป็นอุปสรรคต่อการ
                       เจริญเติบโตและชอนไชของรากพืช เมื่อฝนตกจะเกิดน้ าไหลบ่าไป บนผิวดิน ชะล้างเอาหน้าดินและ
                       ธาตุอาหารไปด้วย (เอิบ, 2533) ในประเทศไทยมีดินทรายจัดทั้งหมด 7,127,085 ไร่ หรือประมาณ
                       ร้อยละ 2.22 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (จตุรงค์ และคณะ, 2559) ดินทรายจัดแบ่ง เป็น 2 ประเภท คือ
                                             1)  ดินทรายมีชั้นดาน  พบมากบริเวณจังหวัดที่อยู่ติดฝั่งทะเลทางภาคใต้และภาค

                       ตะวันออกประมาณ 7 แสนไร่ จะเกิดในสภาพแวดล้อมที่จ ากัด สภาพที่เหมาะสมส าหรับการเกิดดิน
                       ชนิดนี้จะต้องมีวัตถุต้นก าเนิดที่เป็นหินทราย ภูมิอากาศชุ่มชื้น และเป็นที่ราบ องค์ประกอบทางแร่ของ
                       ดินเหล่านี้มีแต่แร่ที่ไม่สลายตัวหรือสลายตัวได้ยากมาก (บุรี, 2531) มีบางแห่งเท่านั้นเป็นดิน ค่อนข้าง

                       ใหม่ พบมีแร่ที่สลายตัวบางชนิดเหลืออยู่ เช่น โพแทส (Potash) เฟลด์สพาร์ (Feldspars) และ มัสโค
                       ไวต์ (Muscovite) ชนิดของแร่ดินเหนียวส่วนใหญ่จะเป็นคาโอลิไนท์ (Kaolinite) สภาพของดินทั่วไป
                       เป็นกรด มีความสามารถในการแลกเปลี่ยน ประจุบวก (CEC) ต่ า มีเปอร์เซ็นต์ของความอิ่มตัวด้วย
                       ประจุบวกที่เป็นด่าง  (BS)  ต่ า  มีแร่ดินเหนียวน้อย  อินทรียวัตถุในดินเป็นตัวส าคัญในขบวนการ

                       เปลี่ยนแปลงของดินและควบคุมการดูดยึดต่าง  ๆ  ขบวนการเกิดของดินชนิดนี้  คือการชะล้างเอา
                       สารประกอบออร์กาโนมีทัลลิค จากดินชั้นบน A ลงไปสะสมในดินชั้นล่างจนท าให้เกิดเป็นชั้นดานของ
                       ชุดดินบ้านทอน (Bh) หรือ Spodic horizon โลหะธาตุที่จับกับอินทรียวัตถุจะมีอลูมินัมเป็น ส่วนใหญ่
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27