Page 24 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 24
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
กลุ่มชุดดินที่ 23
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนน้ าทะเล หรือวัตถุต้น
ก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ าที่ได้รับอิทธิพลของน้ าทะเล ในบริเวณที่ลุ่มระหว่างสันหาดหรือเนินชายฝั่ง
ทะเล บริเวณที่ค่อนข้างราบเรียบ มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าค่อนข้างเลว
ถึงเลว เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน สีดินเป็นสีเทา พบจุดประสีน้ าตาล สีเหลือง บางแห่งมีเปลือก
หอยปะปนอยู่ในเนื้อดิน มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็น
กลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-7.0 แต่ถ้ามีเปลือกหอยปะปนอยู่ ค่าความเป็นกรดเป็น
ด่างจะอยู่ประมาณ 7.0-8.5
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่ เป็นดินทรายจัด มีความสามารถใน
การอุ้มน้ าต่ า และมีน้ าท่วมอยู่เสมอๆ
ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่ใช้ท านา บางแห่งปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่ามี
วัชพืชต่างๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป มีเนื้อที่ประมาณ 13,305 ไร่ หรือร้อยละ 1.10 ของพื้นที่
กลุ่มชุดดินที่ 26
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มดินที่พบในเขตฝนตกชุก เกิดจาการสลายตัวผุผังอยู่กับที่ของหิน
ต้นก าเนิดชนิดต่างๆ แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อละเอียด ซึ่งมีทั้งหินอัคนี
หินตะกอน หรือหินแปร หรือเกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ า ในบริเวณพื้นที่ดอน
มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบจนถึงลูกคลื่นลอนชัน เป็นกลุ่มดินลึกมากที่มีการระบายน้ าดีปานกลางถึง
ดี เนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นพวกดินเหนียว สีดิน
เป็นสีน้ าตาล สีเหลืองหรือสีแดง บางบริเวณพบชั้นศิลาแลงอ่อนภายในความลึก 150 เซนติเมตร ดินมี
ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงค่อนข้างต่ า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด มีค่า
ความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.4-5.5
ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ า ส่วนบริเวณที่
หน้าดินมีทรายปน และมีความลาดชันสูงมีอัตราเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินหากมีการจัดการ
ดินที่ไม่เหมาะสม
ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกยางพารา ไม้ผลต่างๆ และพืชไร่บางชนิด บางแห่งยังคงสภาพ
ป่าธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 75,554 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.23 ของพื้นที่
กลุ่มชุดดินที่ 32
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ า
บริเวณสันดินริมน้ า บนพื้นที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าดี
ปานกลางถึงดี เนื้อดินเป็นพวกดินร่วน ดินทรายปนดินร่วน หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง บางแห่ง
อาจมีชั้นดินทรายละเอียดสลับชั้นอยู่ และมักมีแร่ไมก้าปะปนในเนื้อดิน สีดินเป็นสีน้ าตาลหรือสี
เหลืองปนน้ าตาล อาจพบจุดประสีเหลืองหรือน้ าตาลปนเหลือง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
ค่อนข้างต่ าถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ
4.5-5.5
ดินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า