Page 21 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                       13



                       2.4.1 ลักษณะของกลุ่มชุดดิน ปัญหาในการใช้ประโยชน์ และแนวทางในการจัดการดิน
                             ในกลุ่มชุดดิน
                       กลุ่มชุดดินที่ 5
                              ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ า ในบริเวณที่ราบ

                       ลุ่ม มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าเลว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือ
                       ดินเหนียวปนทรายแป้ง สีเทาแก่ ดินล่างเป็นดินเหนียวสีน้ าตาลอ่อน หรือสีเทา มีจุดประสีน้ าตาล
                       สีเหลือง หรือสีแดงตลอดชั้นดิน มักพบก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีส ปะปนอยู่ และใน
                       ชั้นดินล่างลึกๆ อาจพบก้อนปูน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ าถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็น

                       กรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-8.0
                              ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท านา ในบริเวณที่มีแหล่งน้ าใช้ปลูกพืชไร่ พืชผักและ
                       ยาสูบในช่วงฤดูแล้ง ข้าวที่ปลูกโดยมากให้ผลผลิตค่อนข้างสูง มีเนื้อที่ประมาณ 941 ไร่ หรือร้อยละ
                       0.08 ของพื้นที่

                       กลุ่มชุดดินที่ 6

                              ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ า ในบริเวณที่ราบ
                       ลุ่ม มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าเลว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือ
                       ดินเหนียว สีเทาแก่ ดินล่างเป็นดินเหนียว สีน้ าตาลอ่อน หรือสีเทา มีจุดประสีน้ าตาล สีเหลือง หรือสี
                       แดงตลอดชั้นดิน บางแห่งมีศิลาแลงอ่อนหรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กแมงกานีสปะปนอยู่ด้วย

                       ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัดมีค่าความเป็นกรดเป็น
                       ด่าง 4.5-5.5
                              ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มนี้ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ า

                              ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท านา หรือใช้ปลูกพืชล้มลุกในช่วงฤดูแล้ง ในบริเวณที่มี
                       แหล่งน้ าใช้ปลูกพืชไร่ พืชผัก ในช่วงฤดูแล้ง มีเนื้อที่ประมาณ 171,523 ไร่ หรือร้อยละ 14.14 ของ
                       พื้นที่

                       กลุ่มชุดดินที่ 10
                              ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนล าน้ า

                       และตะกอนน้ าทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ ากร่อย ในบริเวณที่ราบลุ่มที่ห่างจากทะเลไม่มากนัก มีน้ าแช่
                       ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าเลว เนื้อดินเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย
                       แป้ง ดินบนมีสีด าหรือสีเทาแก่ ดินล่างมีสีเทา มีจุดประสีน้ าตาลปนเหลือง สีแดง ปะปนตลอดชั้นดิน
                       และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์ภายในระดับความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดิน ดินมี

                       ความอุดมสมบูรณ์ต่ า และเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างน้อยกว่า 4.5
                              ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดินนี้ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมาก มักขาดธาตุ
                       อาหารพืช พวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในขณะเดียวกันจะมีสารละลายพวกอะลูมินัมและเหล็กเป็น
                       ปริมาณมากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก ดินกลุ่มนี้จัดเป็นดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดก ามะถัน
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26