Page 19 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                                                                       11



                       2.3 ลักษณะภูมิประเทศ
                              ลักษณะทั่วไปของพื้นที่จังหวัดปัตตานี แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ประกอบด้วย พื้นที่ราบชายฝั่ง
                       ทะเล พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด และพื้นที่สูงและภูเขา ดังนี้
                              1) พื้นที่ราบชายฝั่งทะเล เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ ทาง

                       ตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด มีหาดทรายยาวและเป็นที่ราบชายฝั่งกว้างประมาณ 10-30
                       กิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่อ าเภอ เมือง อ าเภอหนองจิกตอนบน อ าเภอยะหริ่ง อ าเภอปะนาเระ
                       และอ าเภอไม้แก่น
                              2) พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด อยู่บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัดเป็นที่สูงสลับกับพื้นที่

                       ราบ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอ าเภอโคกโพธิ์ อ าเภอกะพ้อ และทางตะวันออกของอ าเภอสายบุรี
                              3) พื้นที่สูงและภูเขา เป็นพื้นที่ตอนใต้ของจังหวัด อ าเภอแม่ลาน อ าเภอทุ่งยางแดง อ าเภอ
                       ยะรัง อ าเภอกะพ้อ และอ าเภอโคกโพธิ์ มีเทือกเขา ภูเขา ที่ส าคัญทอดจากตะวันออกไปทางตะวันตก
                       ได้แก่ ภูเขาบูโด นอกจากนั้นมีเขาใหญ่ ได้แก่เขากูแบดูซอ เขามะรวด เขาพ่อมิ่ง แนวเทือกเขาเหล่านี้

                       ต่อเนื่องไปถึงจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส เรียกว่าเทือกเขาสันกาลาคีรี (ส านักส ารวจและวิจัย
                       ทรัพยากรดิน, 2554)


                       2.4 ทรัพยากรดิน
                              จากการส ารวจดินพบว่า ในจังหวัดปัตตานี สามารถจ าแนกดินออกเป็น 23 กลุ่มชุดดิน
                       (ตารางที่ 3) มีเนื้อที่ประมาณ 1,097,724 ไร่ หรือร้อยละ 90.52 ของเนื้อที่ทั้งหมด และเป็นหน่วย
                       พื้นที่เบ็ดเตล็ด 11 หน่วยได้แก่ สนามบิน  (AP) พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า (AQ) ชายหาด (BEACH)
                       พื้นที่ดินตะกอนชะวากทะเลปะปนกัน (EC) สนามกอล์ฟ (GC) ที่ลุ่มน้ าขัง (MARSH) บ่อขุด (P) ที่ดิน

                       ดัดแปลง (ML) พื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้ง (SF) ชุมชน (U) และพื้นที่น้ า  (W) มีเนื้อที่ประมาณ 114,999 ไร่
                       หรือคิดเป็นร้อยละ 9.48 ของเนื้อที่ทั้งหมด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24