Page 26 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัดและดินมีความอุดมสมบูรณ์
ต่ ามาก พืชมักแสดงอาการขาดธาตุอาหารให้เห็น ในช่วงฤดูแล้งชั้นดินจะแห้งและแข็งมาก รากพืชไม่
สามารถไชชอนผ่านไปได้ ส่วนในช่วงฤดูฝนจะเปียกแฉะและมีน้ าแช่ขัง
ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นป่าเสม็ด ป่าชายหาด ป่าละเมาะ บางแห่งใช้ปลูกมะพร้าว มะม่วง
หิมพานต์ และพืชไร่บางชนิด เช่น มันส าปะหลัง อ้อย สับปะรด มีเนื้อที่ประมาณ 106,426 ไร่ หรือ
ร้อยละ 8.78 ของพื้นที่
กลุ่มชุดดินที่ 43
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก หรือบริเวณชายฝั่งทะเล เกิดจากการ
สลายตัวผุผังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ หรือจากตะกอน
ทรายชายทะเล บนพื้นที่ดอน บริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเลหรือบริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่มี
ลักษณะค่อนข้างราบเรียบเป็นกลุ่มดินลึก มีการระบายน้ าค่อนข้างมากเกินไป เนื้อดินเป็นดินทรายปน
ดินร่วนหรือดินทราย ดินมีสีเทา สีน้ าตาลอ่อน สีน้ าตาลเข้มหรือสีน้ าตาลปนแดง ถ้าพบบริเวณสัน
ทรายชายทะเลจะมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ ามาก
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-7.0 แต่ถ้ามีเปลือกหอย
ปะปนจะมีปฏิกิริยาเป็นด่างปานกลาง
ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัด ท าให้มีความสามารถในการ
อุ้มน้ าได้น้อย พืชจะแสดงอาการขาดน้ าอยู่เสมอ นอกจากนี้ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ต่ ามาก
ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น สัปปะรด สวนไม้ยืนต้น ได้แก่ มะพร้าว และ
มะม่วงหิมพานต์ บางแห่งเป็นป่าละเมาะหรือทุ่งหญ้าธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 51,000 ไร่ หรือร้อย
ละ 4.21 ของพื้นที่
กลุ่มชุดดินที่ 45
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่
หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อละเอียด หรือจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวก
ตะกอนล าน้ าบนพื้นที่ดอน ที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน เป็นกลุ่มดินตื้นมาก
มีการระบายน้ าดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีกรวดหรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมาก
กรวดส่วนใหญ่เป็นพวกหินกลมมน หรือเศษหินที่มีเหล็กเคลือบ สีดินเป็นสีน้ าตาลสีเหลือง สีแดง หรือ
สีแดงปนเหลือง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดจัด
มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5
ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มดินชุดดินนี้ ได้แก่ เป็นดินปนกรวดลูกรังมาก
มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
ได้ง่าย
ปัจจุบันบริเวณดังกล่าว ใช้ปลูกยางพารา มะพร้าวหรือผลไม้บางชนิด บางแห่งเป็นที่รกร้าง
ว่างเปล่าหรือทุ่งหญ้าธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ 2,031 ไร่ หรือร้อยละ 0.17 ของพื้นที่