Page 22 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของหมอดินอาสา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
14
ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ท านา บางแห่งมีการยกร่องปลูกพืชผัก ส้มเขียวหวาน และ
สนประดิพัทธ์ หากไม่มีการใช้ปูน เพี่อแก้ไขความเป็นกรดของดิน พืชที่ปลูกมักไม่ค่อยได้ผล มีเนื้อที่
ประมาณ 19,630 ไร่ หรือร้อยละ 1.62 ของพื้นที่
กลุ่มชุดดินที่ 13
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนน้ าทะเล ในบริเวณที่
ราบน้ าทะเลท่วมถึงและบริเวณชะวากทะเล เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าเลวมาก เป็นดินเลนเละ
ที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง ดินบนมีสีด าปนเทา มีจุดประสีน้ าตาลเล็กน้อย ส่วนดินล่างเป็น
ดินเลนสีเทาแก่หรือสีเทาปนเขียว และพบเศษรากพืชปะปนในดินเป็นจ านวนมาก เป็นดินที่
สารประกอบก ามะถันปะปนอยู่มาก ตามปกติเมื่อดินชื้นค่าความเป็นกรดเป็นด่างจะเป็นกลางหรือเป็น
ด่างแต่เมื่อมีการระบายน้ าออกไปหรือท าให้ดินแห้ง สารประกอบก ามะถันจะแปรสภาพปลดปล่อย
กรดก ามะถันออกมา ท าให้ดินเป็นกรดจัดมาก ดินกลุ่มนี้จัดเป็นดินเค็มที่มีกรดแฝงอยู่ มีความอุดม
สมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็น
ด่างประมาณ 7.0-8.5 แต่เมื่อมีการระบายน้ าออกหรือท าให้ดินแห้ง ค่าปฏิกิริยาจะลดลงเป็นกรดจัด
มากถึงกรดจัด ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.0
ตามปกติบริเวณที่พบดินเหล่านี้ มักมีป่าชายเลนขึ้นปกคลุม แต่ในปัจจุบันมีพื้นที่เป็นจ านวน
มากที่ดัดแปลงมาใช้ท านากุ้ง เลี้ยงปลา หรือท านาเกลือ การท านากุ้งหรือเลี้ยงปลา ถ้าไม่มีการจัดการ
ที่เหมาะสม ผลผลิตมักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเกิดกรดและการเกิดสารพิษบางอย่าง เช่น
ก๊าซไข่เน่า เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 17,050 ไร่ หรือร้อยละ 1.41 ของพื้นที่
กลุ่มชุดดินที่ 14
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนล าน้ า
และตะกอนน้ าทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ ากร่อย ในบริเวณที่ลุ่มต่ าชายฝั่งทะเล หรือบริเวณพื้นที่พรุ
มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีด า
หรือสีเทาปนด า ซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ดินล่างมีสีเทา มีจุดประสีเหลืองและสีน้ าตาลปะปนอยู่
เล็กน้อย ดินช่วงล่างลึกกว่า 80 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนเขียวที่มีสารประกอบ
ก ามะถันมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ าถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมาก มี
ค่าความเป็นกรดเป็นด่างน้อยกว่า 4.5
ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินกรดก ามะถันหรือดินเปรี้ยวจัด อีกทั้งจะ
เป็นกรดเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าหากมีการท าให้ดินแห้งเป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกันหลายๆ ปี
นอกจากนี้ในช่วงฤดูเพาะปลูกมักมีปัญหาเรื่องน้ าท่วมเกิดขึ้นเสมอๆ
ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นป่าเสม็ด มีวัชพืชต่างๆ เช่น กก กระจูด และหญ้าชัน
อากาศเป็นพืชพื้นล่าง บางแห่งใช้ท านาแต่ให้ผลผลิตต่ า มีเนื้อที่ประมาณ 107,589 ไร่ หรือร้อยละ
8.87 ของพื้นที่
กลุ่มชุดดินที่ 16
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ า ในบริเวณ
ที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้ าค่อนข้าง