Page 39 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       26







                              ด้านปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ และโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ พบว่า
                       ในต ารับการทดลองที่ 1  (ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี) ลดลงในดินหลังเก็บเกี่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูก

                       เนื่องมาจากพืชดูดใช้ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ที่อยู่ในดิน แต่ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม
                       ในดินยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ยังพบว่า การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสท าให้ปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็น

                       ประโยชน์ได้ในดินหลังการเก็บเกี่ยวสูงขึ้น ในต ารับการทดลองที่ 2-6    ที่มีการใส่ปุ๋ยเคมี  ถึงแม้ว่าใน
                       ต ารับการทดลองที่ 4 และ 5 จะไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสก็ตาม และยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ

                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ในดิน ไม่สัมพันธ์กับปริมาณการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการ

                       เปลี่ยนแปลงของปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ไม่ได้มีผลมาจากอัตราปุ๋ยเคมีที่ใส่ แต่เป็นผลมา
                       จากปฏิกิริยาของฟอสฟอรัสในดิน ส่วนปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ พบว่าในดินหลัง

                       การเก็บเกี่ยว ปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ มีค่าลดลงในต ารับการทดลองที่ 1,  2,  3

                       และ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูก โดยการลดลงของปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยน
                       ได้ ไม่สัมพันธ์กับอัตราการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม ส าหรับต ารับการทดลองที่ 4  และ 5  ซึ่งไม่มีการใส่ปุ๋ย

                       โพแทสเซียม แต่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูง พบว่ามีปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้
                       เพิ่มขึ้นเล็กน้อย  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ในแปลง

                       ทดลอง ไม่สอดคล้องกับอัตราการใส่ปุ๋ย จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ เป็นผลของอัตราการใส่ปุ๋ย ดังตารางที่ 6 และ ตารางที่ 7



                       ตารางที่ 8 การเปรียบเทียบผลวิเคราะห์สมบัติบางประการของดินก่อนปลูกแปลงทดลองผักคะน้า
                                     การแปลผล และการแนะน าอัตราการใส่ปุ๋ย ของต ารับการทดลองที่ 3 และ 6 พ.ศ. 2558


                       ต ารับ N-P O -K O         ปริมาณ       pH  Organic   Available   Exchangeable
                                  2 5  2
                         ที่     (kg/rai)        ปุ๋ยที่ใส่         Matter        P              K
                                                 (kg/rai)            (%)       (mg/kg)        (mg/kg)
                         3      15 - 5 - 5  46-0-0 = 32.61  6.4       2.3         91            283

                                             0-46-0 = 10.87
                                             0-0-60 = 8.33

                         6     15 - 5 - 10  46-0-0 = 32.61  6.5       2.4        >45           >120

                                             0-46-0 = 10.87
                                             0-0-60 = 16.67

                       หมายเหตุ:     ต ารับการทดลองที่ 3   อัตราตามค่าวิเคราะห์ดินของห้องปฏิบัติการ

                                                           ค าแนะน าของกรมวิชาการเกษตร
                                     ต ารับการทดลองที่ 6   อัตราตามค่าวิเคราะห์ดินโดยชุดตรวจดินภาคสนาม
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44