Page 10 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                       ชื่อโครงการวิจัย   การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามส าหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูก
                                         พืชผักในจังหวัดล าพูน
                                         The use of LDD soil test kit for recommendation of fertilizer
                                         Management for vegetables in Lamphun province.


                       ทะเบียนวิจัยเลขที่  56  58  01  99  021602  018  108  02  11

                       กลุ่มชุดดินที่    4 ชุดดินแม่สาย (Ms)  และ  15 ชุดดินราชบุรี (Rb)

                       ผู้ด าเนินงาน     นางสุพัตรา    จีรัตน์           Mrs. Supattra Jeerat

                                         นายณธรรศ   สมจันทร์             Mr. Nathus  Somjun

                                                            บทคัดย่อ
                              การศึกษาการใช้ประโยขน์ชุดตรวจดินภาคสนาม ส าหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักใน

                       จังหวัดล าพูน  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าวิเคราะห์ดินที่ตรวจวัดโดยชุดตรวจดินภาคสนามของ
                       กรมพัฒนาที่ดิน กับค่าวิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการ รวมถึงศึกษาประเมินประสิทธิภาพของชุด
                       ตรวจดินภาคสนามส าหรับแนะน าการใส่ปุ๋ยเคมีในพืชผัก เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้ค่า
                       วิเคราะห์ดินก่อนปลูก ส าหรับก าหนดอัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในการ

                       ปลูกผักคะน้าและต้นหอมแบ่ง เริ่มด าเนินงาน ปี พ.ศ. 2557 และสิ้นสุด พ.ศ. 2558 ณ บ้านตีนดอย
                       ต าบลมะกอก อ าเภอป่าซาง จังหวัดล าพูน และบ้านพันตาเกิน ต าบลต้นธง อ าเภอเมือง จังหวัดล าพูน
                              การทดลองใช้แผนการทดลองแบบสมบูรณ์ภายในบล็อค (Randomized Complete Block
                       Design; RCBD) มี 6 ต ารับการทดลอง และ 4 ซ้ า ดังนี้ 1) แปลงควบคุม (control) ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี

                       2) อัตราที่เกษตรกรเคยปฏิบัติ 3) อัตราแนะน าของกรมวิชาการเกษตร 4) อัตราตามความต้องการ
                       ไนโตรเจนของพืช โดยถือว่าพืชดูดใช้ไนโตรเจนจากปุ๋ยได้ 50  เปอร์เซ็นต์ และพิจารณาอัตราการใส่
                       จากค่าวิกฤตฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม 5) อัตราที่ประเมินจากปริมาณธาตุอาหารหลักที่สะสมในพืช

                       โดยชดเชยปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสีย 30 เปอร์เซ็นต์ และ 6) อัตราตามค่าวิเคราะห์ดินโดยชุดตรวจ
                       ดินภาคสนาม
                              ผลการทดลอง พบว่าอัตราการใส่ปุ๋ยในต ารับการทดลองที่ 4, 5  และ 6 ผลผลิตของผักคะน้า
                       และหอมแบ่ง ไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับ ต ารับการทดลองที่ 3 และ 2 โดยในต ารับ
                       การทดลองที่ 4  มีต้นทุนการผลิตด้านปุ๋ยเคมีต่ าที่สุด  นอกจากนี้พบว่าค่าวิเคราะห์อินทรียวัตถุ

                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ และโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ที่ตรวจวัดโดยชุดตรวจดิน
                       ภาคสนาม มีความสอดคล้องกับค่าวิเคราะห์ดินที่ตรวจวัดจากห้องปฏิบัติการ โดยความแตกต่างของ
                       ค่าวิเคราะห์ไม่เกิน 1 ระดับ เมื่อใช้ค่าวิเคราะห์ดินที่ตรวจวัดโดยชุดตรวจดินภาคสนาม ร่วมกับเกณฑ์

                       การให้ค าแนะน าอัตราการใส่ปุ๋ยของกรมวิชาการเกษตรในการก าหนดอัตราการใส่ปุ๋ย (ต ารับการ
                       ทดลองที่ 6)  ในผักคะน้าและหอมแบ่ง พบว่า การใช้ชุดตรวจดินภาคสนามของกรมพัฒนาที่ดิน ให้
                       ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับ ต ารับการทดลองที่ 2, 3, 4  และ 5 นอกจากนี้ยัง
                       สามารถลดต้นทุนการผลิตด้านปุ๋ย โดยผลผลิตไม่ลดลง และมีผลตอบแทนต่อต้นทุนด้านปุ๋ยหนึ่งหน่วย
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15