Page 25 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       14




                           3.5 การจ าแนกความเหมาะสม และการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                 การจ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจ เป็นการประเมินหรือแปลข้อมูลดิน
                   ให้เป็นภาษาง่ายๆ ว่าพื้นที่แห่งนั้นมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกมากหรือน้อยเพียงไร ใช้วิธีประเมิน
                   ตามคู่มือการจ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย (กองส ารวจและจ าแนกดิน,
                   2543) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                                   1. บรรทัดฐานที่น ามาใช้พิจารณาเพื่อจ าแนกความเหมาะสมของดิน
                                     1.1 การจ าแนกความเหมาะสมของดิน เป็นการน าเอาลักษณะและสมบัติต่างๆ ของ
                   ดิน ตลอดจนสภาพแวดล้อมบางประการที่ถือว่าเป็นลักษณะถาวร (permanent soil characteristics) หรือ
                   เป็นลักษณะที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถตรวจสอบได้ มาพิจารณาแบ่งดินออกเป็นหมวดหมู่ตาม

                   ข้อจ ากัดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชแต่ละประเภทที่น ามาปลูก ลักษณะต่างๆ
                   เหล่านี้ ได้แก่
                                          t  : สภาพพื้นที่ (topography)
                                          s : เนื้อดิน (texture) หรือชั้นอนุภาคดิน (particle size class)

                                          b : ชั้นชะล้างอย่างรุนแรง (albic horizon)
                                          c : ความลึกที่พบชั้นดานแข็ง (depth to consolidated layer)
                                          g : ความลึกที่พบก้อนกรวด (depth to gravelly layer)

                                          r  : หินพื้นโผล่ (rockiness)
                                          z : ก้อนหินโผล่ (stoniness)
                                          x : ความเค็มของดิน (salinity)
                                          d : การระบายน้ าของดิน (drainage)
                                          f  : อันตรายจากการถูกน้ าท่วม (flooding hazard)

                                          w : น้ าแช่ขัง (water logging)
                                          m : ความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ า (risk of moisture shortage)
                                          n : ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (nutrient status)

                                          a : ความเป็นกรดของดิน (acidity)
                                          k : ความเป็นด่างของดิน (alkalinity)
                                          j  : ความลึกที่พบชั้นดินกรดก ามะถัน (depth to acid sulfate layer)
                                          e : การกร่อนของดิน (erosion)

                                          o : ความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์ (thickness of organic soil material)

                                     1.2  การจ าแนกความเหมาะสมของดิน จะจ าแนกตามความรุนแรงของข้อจ ากัด

                   หรืออัตราเสี่ยงต่อความเสียหายถ้าน ามาใช้ปลูกพืชตามที่ได้ระบุไว้ ดังนั้น ในแต่ละชั้นความเหมาะสมของ
                   ดินจะประกอบไปด้วยกลุ่มชุดดิน ชุดดิน หรือประเภทของชุดดินชนิดต่างๆ ที่มีข้อจ ากัดต่อการปลูกพืช
                   รุนแรงใกล้เคียงกัน แต่มิได้หมายความว่าแต่ละชุดดินจะต้องการการปฏิบัติดูแลรักษาที่เหมือนไป ทั้งนี้
                   ขึ้นอยู่กับลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของดินด้วย
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30