Page 9 - รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 กรมพัฒนาที่ดิน
P. 9

6


               ประสิทธิภาพการทำงาน ยกระดับการเพิ่มผลิตภาพใน 4 Smart คือ 1. Smart Collaboration  สร้างเครือข่าย

               ความร่วมมือด้านดินภายในและระหว่างประเทศ เครือข่ายภายในประเทศ ได้แก่ เครือข่ายหมอดินอาสา ชุมชนใน
               การจัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบล   และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับภาครัฐ เอกชน และ
               สถาบันการศึกษา เครือข่ายระหว่างประเทศ  ได้แก่ สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินแห่งภูมิภาคเอเชีย

               (ASP) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) 2. Smart Connection - บูรณาการชุด
               ข้อมูล High Value Data Sets กับศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูล (Open Data Government) 14

               ชุดข้อมูล และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญของกรมฯ ผ่าน API Service ไปยังระบบสืบค้นและบริการ
               ภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ : (NGIS Portal) 3. Smart Service ปรับเปลี่ยนการให้บริการประชาชนเป็น e-

               service เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว เช่น บัตรดินดี (ID Din Dee) ขอรับ
               บริการสระน้ำในไร่นา(บ่อจิ๋ว) บริการวัสดุการเกษตร ตรวจสอบดินเพื่อการเกษตร  ดินออนไลน์ 4. Smart

               Operation  สร้างองค์การมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการและปฏิบัติงานเชิง
               พื้นที่ เช่น  LDD Zoning, LDD On Farm, Agri-Map online,  Chatbot “คุยกับน้องดินดี” จัดหลักสูตรอบรมเพื่อ
               พัฒนาบุคลากรเป็นผู้นำใหม่ และใช้เครื่องมือ LDD Excellent Model / Smart Workplace


               ระบบวัดผลการดำเนินงาน มีแนวทางในการกำหนด
               ตัวชี้วัดเพื่อวัดผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
               แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ 1. การกำหนดตัวชี้วัด

               ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อวัดผลสำเร็จของ
               วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ทุก 5 ปี และ 20 ปี 2 .

               การกำหนดตัวชี้วัดระยะสั้น วัดผลการดำเนินงานตาม
               แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมระดับกรม และระดับ

               หน่วยงาน (ภายใต้ข้อตกลง IPA) ติดตาม รวบรวม
               และสรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่าย

               งบประมาณทุกเดือน และรายไตรมาส และ 3. การกำหนดตัวชี้วัดผลโครงการสำคัญเร่งด่วน เป็นการวัดผล
               โครงการสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตาม รวบรวม และ
               สรุปผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณทุกสัปดาห์ และทุกเดือน โดยมีความถี่ในการติดตามผล

               การดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ คือ 1. รายวัน ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โปรแกรม
               บันทึก stock วัสดุการเกษตร โครงการปลูกหญ้าแฝก (VGT) 2. รายสัปดาห์ ติดตามโครงการสำคัญตาม

               นโยบายรัฐบาลหรือโครงการบูรณการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น การบริหา รจัดการพื้นที่
               เกษตรกรรม (Zoning by Agri-map) การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ โครงการปลูกพืชปุ๋ยสดฤดูนาปรัง เป็นต้น 3.
               รายเดือน ติดตามและสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของ พด. เพื่อนำเสนอผู้บริหารในการเร่งรัดผลงานให้

               เป็นไปตามเป้าหมาย 4. รายไตรมาส ติดตามและสรุปผลงานในภาพรวมของ พด. รายงานผลให้กับหน่วยงาน
               กลาง เช่น สำนักงบประมาณ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนัก

               นายกรัฐมนตรี เป็นต้น และ 5. รายปี ติดตามและสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของ พด. และนำเสนอข้อมูล
               ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบการรายงานผลงานประจำปี
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14