Page 14 - รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 กรมพัฒนาที่ดิน
P. 14

11


               ในพื้นที่เกษตรกรรมถูกใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้คงความอุดมสมบูรณ์ได้อย่าง
               ยั่งยืน


               ผลงานเรื่องที่ 4 : โครงการสำรวจและจัดทำแผนที่ดิน
                     ปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน     ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง      มีขีดสมรรถนะสูง ทันสมัย
               รูปแบบ/ลักษณะ/ Concept ของผลงาน

                       งานสำรวจดิน เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของ พด. เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2506 - ปัจจุบัน เพื่อวางรากฐานด้าน
               การเกษตรตามระบบของประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA) ในอดีตข้อมูลพื้นฐานอยู่ในรูปของภาพถ่ายทางอากาศและ
               แผนที่กระดาษ การเก็บข้อมูลต้องใช้บุคลากรเป็นจำนวนมาก งานส่วนใหญ่ทำด้วยมือ ทำให้แผนที่ดินค่อนข้างหยาบ
               ปัจจุบันงานสำรวจและจัดทำแผนที่ดิน อยู่บนพื้นฐานของระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ที่มีความทันสมัยและสมบูรณ์จน

               เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการดำเนินงานในทุกขั้นตอน การจัดเตรียม
               ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ภาพถ่ายออร์โธสี แบบจำลองความสูงเชิงเลข ข้อมูลธรณีวิทยา และการใช้ที่ดินปัจจุบัน ที่มี
               ความละเอียดถูกต้องสูง มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของของการกำเนิดดิน ด้วยซอฟแวร์ด้าน GIS ที่มีสมรรถนะสูง ทำ
               ให้จำแนกความแตกต่างของพื้นที่ได้อย่างละเอียด การวางแผนกำหนดจุดสำรวจดินเชื่อมโยงกับ Google Map ข้อมูล

               ดินในภาคสนามจะถูกนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลางผ่านอินเทอร์เน็ต ตามมาตรฐานการสำรวจและจำแนกดิน ที่
               ปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทย กว่า 300 ชุดดิน จัดแสดงแบบจำลองไว้ที่พิพิธภัณฑ์ดินของ พด. นอกจากนี้ได้
               เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลดินในระดับนานาชาติ ผ่านความร่วมมือ Asian Soil Partnership โดยองค์การอาหารและ

               การเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เพื่อจัดทำแผนที่ดินและระบบสารสนเทศดินของเอเชีย














                       ระบบฐานข้อมูลดินได้นำมาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตของดินสำหรับการปลูกพืชชนิดต่างๆ โดยใช้

               แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และส่งต่อข้อมูลเป็นปัจจัยนำเข้าสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะ
               โปรแกรม Agri-map  นอกจากนั้นระบบฐานข้อมูลดินยังเป็นข้อมูลที่มีการเปิดเผยผ่านระบบ MOAC Open
               Data ของกระทรวงฯ รวมทั้งถูกนำไปเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร ผ่าน Web Application และ

               Mobile Application ตัวอย่างเช่น บัตรดินดี, ดินออนไลน์, Ldd On Farm, Ldd Land Info, LDD’s IM
               FARM เพื่อช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจและวางแผนการผลิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
                       ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น (1) เกษตรกรรู้ข้อมูลดินและศักยภาพของดินในพื้นที่ สามารถพัฒนา
               ปรับปรุงและเลือกทำการเกษตรได้เหมาะสมกับสภาพของที่ดิน ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ ทำให้มีรายได้และ

               ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลกระทบในภาพรวมต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ (2)
               เกษตรกรใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม สนับสนุนการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผน
               ปฏิรูปประเทศ (3) ระบบฐานข้อมูลดินเป็นข้อมูลพื้นฐานที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนำไปใช้
               ประโยชน์เพื่อวางแผนการพัฒนาด้านอื่นๆ ของประเทศได้ ซึ่งมีผู้ขอรับบริการเป็นจำนวนมากทั้งผ่านระบบ

               ออนไลน์และออฟไลน์
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19