Page 7 - รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 กรมพัฒนาที่ดิน
P. 7

4


                     “ระบบการบริหารจัดการกรมพัฒนาที่ดิน”

                       ด้วยแนวทางและผลการดำเนินงานที่มีความ

               โดดเด่นจากการนำองค์การของอธิบดีและทีมนำ ซึ่ง
               ได้สืบทอดวัฒนธรรมในการบริหารองค์กรด้วยการ

               ทำงานยึดหลักวิชาการ บริการด้วยใจ ใฝ่เรียนรู้ โดย
               ทำงานบนพื้นฐานความรู้และข้อมูล ฐานข้อมูล
               ทรัพยากรดินของประเทศไทย (Soil Map) ทำให้ทราบ

               สถานภาพทรัพยากรดิน การใช้ที่ดิน และปัญหาการ
               ใช้ทรัพยากรดิน พบว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด

               ประมาณ 320.67 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม
               ประมาณ 153.18 ล้านไร่ พด. สามารถจัดชั้นความ

               เหมาะสมของดิน จำแนกตามการบริหารจัดการพื้นที่ตามศักยภาพของพื้นที่เกษตร 4 ด้าน ได้แก่ ดินดีไม่มี
               ข้อจำกัดในการผลิตพืช คิดค้นนวัตกรรมให้ดินมีการใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน และเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร

               ดินดีมีข้อจำกัดแต่คุ้มค่าต่อการลงทุน คิดค้นนวัตกรรมสำหรับการปรับปรุงบำรุงดินให้ดินมีคุณภาพเหมาะสม
               กับการผลิตพืช ดินไม่เหมาะสมในการผลิตพืช ปรับเปลี่ยนการผลิตพืชให้เหมาะสมกับดิน และดินปัญหา คิดค้น
               เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน จัดการดินปัญหา และการอนุรักษ์ดินและน้ำ นำไปสู่การออกแบบ

               ระบบการบริหารจัดการ พด. “LDD Excellent Model” เป็นหลักในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับ
               วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของกรมพัฒนาที่ดินให้ปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ โดยวางระบบ

               บริหารจัดการ รวบรวมข้อมูลทั้งภายในและภายนอก วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการ
               ถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติ ติดตามวัดผลสำเร็จ ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีการทบทวนปรับปรุง

               อย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม

                     “การกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม”

                       กรมพัฒนาที่ดินได้ทบทวนแผนปฏิบัติ
               ราชการเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงทั้ง

               สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยี และกำหนดแนวทาง
               “การขับเคลื่อนการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” 6 ด้าน

               ดังนี้ 1. กำหนดเขตการใช้ที่ดิน เพิ่มประสิทธิภาพการ
               ผลิตในพื้นที่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่

               เหมาะสม และจัดทำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลเพื่อ
               เป็นแผนพัฒนาในระดับพื้นที่ 2. บริหารจัดการเชิง
               พื้นที่เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแล้ง เพิ่มพื้นที่กัก

               เก็บน้ำในดินด้วยสระน้ำในไร่นา ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำทั้งวิธีกลและวิธีพืชโดยการปลูกหญ้าแฝกและพืชคลุม
               ดิน 3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ฟื้นฟูและปรับปรุงพื้นที่ที่มีศักยภาพการผลิตต่ำอันเกิดจากดินปัญหา

               เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินกรด เป็นต้น เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และพัฒนาที่ดินพื้นที่เฉพาะ 4.
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12