Page 12 - รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 กรมพัฒนาที่ดิน
P. 12

9


               ผลงานเรื่องที่ 1 : โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)
                เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน       ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง       มีขีดสมรรถนะสูง ทันสมัย

               รูปแบบ/ลักษณะ/Concept ของผลงาน
                       ปัจจุบันเกษตรกรไทยประสบปัญหาความยากจน สาเหตุหนึ่งเกิดจากเกษตรกรมีข้อมูลไม่เพียงพอในการ
               วางแผนการผลิตสินค้าเกษตร ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลให้มีรายได้ไม่พอเพียงกับการยังชีพ

               กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมาย พด. เป็นเจ้าภาพหลัก
               รวบรวมและเชื่อมโยงฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ 69 ชั้นข้อมูล จาก 19

               หน่วยงาน จัดทำแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก
               (Agricultural Map for Adaptive Management : Agri-Map)
               และร่วมกับ NECTEC พัฒนาระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหาร

               จัดการเชิงรุกออนไลน์และบนสมาร์ทโฟน (Agri-Map
               Online/Mobile) ให้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและ

               แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ แผนที่ Agri-Map แสดงพื้นที่
               ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ (N) จำนวน 14.52 ล้านไร่
               ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ต้นทุน

               การผลิตสูง จึงเกิดนวัตกรรมเชิงนโยบาย การปรับเปลี่ยนการ
               ผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยรัฐสนับสนุน จูงใจ

               ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตเน้นพื้นที่ N ข้าว โดย เสนอ
               ทางเลือกให้เกษตรกรสามารถเลือกปรับเปลี่ยนการผลิตได้ตาม
               ความต้องการ ได้แก่ ปลูกชนิดพืชอื่นที่เหมาะสม เกษตรผสมผสาน ปศุสัตว์ ประมง หรือปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็น

               ต้น ซึ่งเป็นการบูรณาการแผนงานที่ครอบคลุมสาขาอาชีพของเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนมีการพัฒนา
               ทักษะของเจ้าหน้าที่ในการใช้แผนที่ Agr-Map และเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน เช่น Agri-Map online,

               LDD Zoning มีผลงานปี 2559 - 2563 เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จำนวน 119,364 ราย
               พื้นที่ 732,851 ไร่
                       โครงการดังกล่าวเป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงฯ  ซึ่งมีหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนา

               ที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมหม่อนไหม ร่วมจัดทำ
               แผนบูรณาการร่วมกันโดยใช้ข้อมูล Agri-map ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรายย่อย นอกจากนั้นหน่วยงานอื่นที่

               เกี่ยวข้องกับการตลาดการแปรรูป การขนส่ง สามารถใช้ข้อมูล Agri-map ในการบริหารจัดการได้ ส่งผลให้
               เกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นสินค้าใหม่ในทุกสินค้า มีผลตอบแทนสุทธิมากกว่าปลูกข้าว โดยการปลูกข้าว
               ให้ผลตอบแทนสุทธิ 1,292 บาท/ไร่/ปี การปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรผสมผสาน หม่อนไหม ประมง และหญ้าเลี้ยง

               สัตว์ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 5,096, 4,869, 4,637 และ 3,655 บาท/ไร่/ปี ตามลำดับ

                       คุณค่าต่อประชาชน/ส่วนราชการ/ประเทศ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 98 ปรับเปลี่ยนการ

               ผลิตชนิดสินค้าที่เหมาะสมกับพื้นที่ตนเอง การปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นสินค้าใหม่ในทุกสินค้า ให้ผลตอบแทน
               สุทธิมากกว่าปลูกข้าว การปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรผสมผสานให้ผลตอบแทนสุทธิสูงที่สุด และเกษตรกรมีความ
               พึงพอใจต่อโครงการระดับมากที่สุด เกษตรกรร้อยละ 92 มีแนวโน้มที่จะทำการผลิตในพื้นที่ปรับเปลี่ยนต่อไป
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17