Page 13 - รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2564 กรมพัฒนาที่ดิน
P. 13

10


               และจะขยายพื้นที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นจากเดิม การเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพ
               ชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


               ผลงานเรื่องที่ 2 : โครงการบริหารจัดการดินเชิงรุกแก่เกษตรกรรายแปลงผ่านบัตรดินดี
                   เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน      ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง         มีขีดสมรรถนะสูง ทันสมัย
               รูปแบบ/ลักษณะ/ Concept ของผลงาน

                       ทรัพยากรดินและน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตทางการเกษตร ข้อมูลดินและน้ำเป็นข้อมูลสำคัญ
               ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิต ตัดสินใจปลูกพืชให้เหมาะสมกับดิน มีการจัดการดินที่ถูกต้อง เพิ่ม
               ผลผลิต ลดต้นทุน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเดิม พด. ได้มีการถ่ายทอดข้อมูลดิน
               ความรู้ และเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินสู่กลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรรายย่อยอยู่แล้ว แต่ยังขาดการวิเคราะห์

               แนะนำเกษตรกรเฉพาะรายอย่างเป็นระบบ ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการทำงานที่เน้นเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง
               พด.จึงพัฒนากลไกการขับเคลื่อนสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรเชิงรุก โดยจัดทำ “โครงการบริหารจัดการดิน
               เชิงรุกแก่เกษตรกรรายแปลงผ่านบัตรดินดี”
               เกิดนวัตกรรมเชิงผลผลิตเรียกว่า “บัตรดิน

               ดี” ซึ่งเป็นบัตรประจำแปลงดินของเกษตรกร
               ที่มอบให้แก่เกษตรกรเฉพาะราย โดย
               เกษตรกรที่ได้รับบัตรดินดี จะได้รับการดูแล

               ตรวจคุณภาพดิน แนะนำการใช้ประโยชน์
               ที่ดินให้เหมาะสมสำหรับการทำเกษตร
               ประเภทนั้น รวมทั้งผู้ถือบัตรดินดีจะได้รับ
               สิทธิประโยชน์ในการรับปัจจัยการผลิตจาก พด. เป็นลำดับต้นๆ นอกจากนั้นจะมีการติดตามตรวจสุขภาพดินใน
               กรณีที่พบว่า แปลงดินของเกษตรกรมีปัญหารุนแรง จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพื่อให้

               เกษตรกรที่มีความสนใจประสงค์จะดูแลปรับปรุงที่ดินของตนเอง สามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างรายได้ เลี้ยงชีพ
               ได้อย่างมั่งคง
                     พด. ดำเนินการพัฒนาใน 3 ด้าน ดังนี้ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเชิงรุกในลักษณะการบริการตรวจ

               สุขภาพดินแก่เกษตรกรในพื้นที่ให้รู้ศักยภาพดินในแปลงเกษตรของตนเอง สามารถตัดสินใจเพาะปลูกและจัดการดิน
               ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ รวดเร็วทันต่อฤดูกาลเพาะปลูก 2) พัฒนาระบบผู้ถือบัตรดินดีแบบออนไลน์ ที่
               สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านบัตรดินดี เข้าดูประวัติสุขภาพดินและการใช้ที่ดิน ผลวิเคราะห์ดิน คำแนะนำการจัดการ
               ดิน และความรู้เกี่ยวกับดินในคลังข้อมูลดิน สามารถเชื่อมโยงถึงระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่เพื่อพิจารณาสภาพปัญหา

               หรือข้อจำกัดการปลูกพืช และ 3) ทำงานเป็นทีม บูรณาการร่วมกับหน่วยงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค  รวมถึงการ
               สร้างและประสานเครือข่ายเกษตรกรของ พด. ผ่านการใช้บัตรดินดี ผลงานปี 2562-2563 มีเกษตรกรได้รับบัตรดินดี
               แล้ว จำนวน 173,667  ราย
                        ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น (1) เกษตรกรสามารถจัดการดินและปุ๋ยได้ด้วยตนเอง โดยเข้าถึงข้อมูล

               องค์ความรู้และเทคโนยีการพัฒนาที่ดินได้สะดวก รวดเร็ว ทันต่อฤดูกาลเพาะปลูก ตอบสนองความต้องการได้ตรง
               กับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง อันจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น (2) เกิดการบูรณา
               การของหน่วยงาน ใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปฏิบัติงานที่
               ซ้ำซ้อน และช่วยตรวจสอบปรับปรุงข้อมูลระดับรายแปลงให้เป็นปัจจุบัน และ (3) ในระดับประเทศ ทรัพยากรดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18