Page 42 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  29



                               6)  ความห่างของแถวหญ้าแฝกแต่ละแถว ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพืชที่ปลูก
                  โดยขอค�าแนะน�าเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง 1.5-3 เมตร

                               7)  กลบดินในร่องปลูกให้ต�่ากว่าระดับผิวดินปกติ เพื่อให้น�้าขังและซึมลงดิน ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
                               8)  ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง

                            7.3.5 การดูแลรักษาหญ้าแฝก

                               1)  การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ กล้าหญ้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ 45-60 วัน
                  เมื่อน�ากล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วหญ้าแฝก ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม�่าเสมอ

                               2)  การเลือกช่วงเวลาปลูก การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพของดินที่

                  ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 15 วัน ขึ้นไป

                               3)  การตัดใบ ในช่วงต้นฤดูฝนให้ตัดใบหญ้าแฝกให้สั้นสูงจากพื้นผิว 5 เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการ
                  แตกหน่อใหม่ และก�าจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูงไม่ต�่ากว่า 45 เซนติเมตร เพื่อให้มีแนว

                  กอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน�้าไหลบ่า และในช่วงปลายฤดูฝนเกี่ยวใบให้สั้น 5 เซนติเมตร อีกครั้งเพื่อ
                  ให้หญ้าแฝกแตกใบเขียวในฤดูแล้ง

                               4)  การดูแลรักษาตามความเหมาะสม ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวหญ้าแฝกก็จะเป็นการ

                  ช่วยให้หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และก�าจัดวัชพืชข้างแนวจะเป็นการช่วยให้สังเกตแนวหญ้าแฝกได้ชัดเจน
                  ช่วยให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น
                               5)  การปลูกซ่อมและแยกหน่อแก่ออก การปลูกซ่อมแซมในช่วงฤดูฝนจะท�าให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝก

                  ที่แข็งแรง และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอกหรือแห้งออกไป เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่

                        7.4  การแก้ไขดินในที่มีความลาดชันสูงเพื่อน�ามาใช้ท�าการเกษตร

                            ดินที่มีความลาดชันสูง คือ ดินที่พบในบริเวณที่เป็นเขา มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่

                  ส่วนใหญ่เป็นป่าธรรมชาติ เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มได้ ประกอบ
                  กับเป็นดินตื้นถึงชั้นหินพื้น รวมทั้งมีก้อนหินปะปนบนผิวดินมาก ท�าให้ในช่วงฤดูฝนเมื่อฝนตกหนักต่อเนื่อง
                  จะท�าให้เกิดน�้าท่วมฉับพลัน น�้าป่าไหลหลากและดินถล่มตามมา ไม่เหมาะสมที่จะน�ามาใช้ท�าการเกษตร

                  ควรสงวนไว้เป็นป่าธรรมชาติ

                            การฟื้นฟูป่าในพื้นที่โครงการฯ จากแนวพระราชด�าริในการปลูกป่าทดแทน
                            -   ปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถาง และพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรม

                            -   ปลูกป่าตามบริเวณอ่างเก็บน�้า
                            -   ปลูกป่าบนภูเขาสูง เนื่องจากป่าที่ทรุดโทรม ซึ่งมีผลกระทบต่อลุ่มน�้าตอนล่าง

                            -   ปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน�้าและแหล่งน�้าให้มีความสะอาดบริโภคได้
                            -   ปลูกป่าเพื่อให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎร

                  เห็นความส�าคัญของการปลูกป่า
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47