Page 21 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ 9
6.2.3 ปัญหำดินในพื้นที่สูงชัน
พบบริเวณที่เป็นเขา มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า
ตามธรรมชาติ เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มได้ ประกอบกับเป็นดิน
ตื้นถึงชั้นหินพื้น รวมทั้งมีก้อนหินปะปนบนผิวดินมาก ท�าให้ในช่วงฤดูฝน เมื่อฝนตกหนักต่อเนื่องจะท�าให้เกิดน�้า
ท่วมฉับพลัน น�้าป่าไหลหลากและดินถล่มตามมา ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 17 มีเนื้อที่ 5,981 ไร่ หรือร้อยละ 33.83
ของพื้นที่โครงการฯ
6.2.4 ปัญหำดินมีควำมอุดมสมบูรณ์ต�่ำ
เนื่องจากทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่โครงการฯ ส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นกลุ่มดินเนื้อหยาบ
ประเภทดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย ที่เกิดจากวัตถุต้นก�าเนิดดินที่เป็นหินทราย ท�าให้ดินมีลักษณะ
ไม่อุ้มน�้า ง่ายต่อการกัดกร่อน ความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต�่า ส่งผลให้ดิน
มีความอุดมสมบูรณ์ต�่า ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 และ 17
มีเนื้อที่ 17,245 ไร่ หรือร้อยละ 97.52 ของพื้นที่โครงการฯ