Page 20 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8 ก า ร จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร ดิน
1) ปัญหาดินมีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายในพื้นที่ลุ่ม พบบริเวณที่ราบและร่องระหว่างเนิน
มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วน ดินมีการระบายน�้าค่อนข้างเลวถึงเลว ดินมีน�้าขังในช่วงฤดูฝน
ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุต�่า มีธาตุอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอยู่ในเกณฑ์ต�่าถึงต�่ามาก ดินที่พบ ได้แก่
หน่วยแผนที่ดินที่ 12 มีเนื้อที่ 1,580 ไร่ หรือร้อยละ 8.93 ของพื้นที่โครงการฯ
2) ปัญหาดินมีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายในพื้นที่ดอน พบบริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการ
กัดกร่อนและบริเวณที่ลาดเชิงเขา มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือทรายปนดินร่วน ท�าให้ดินไม่อุ้มน�้า มีปริมาณ
ธาตุอาหารต�่า ดินที่พบ ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 และ 11 มีเนื้อที่ 4,793 ไร่ หรือ
ร้อยละ 28.01 ของพื้นที่โครงการฯ
6.2.2 ปัญหำดินตื้น
พบบริเวณที่เป็นเขาและที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าตามธรรมชาติและพื้นที่ป่าปลูก
ดินมีลักษณะตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้น มีชิ้นส่วนหยาบปะปนอยู่ในเนื้อดินมากกว่าร้อยละ 35 ส่วนใหญ่จะอยู่
ตื้นกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวหน้าดิน บางบริเวณพบก้อนหินปะปนบนผิวหน้าดิน ท�าให้มีปริมาตรของดินน้อย
ดินจึงอุ้มน�้าได้น้อย มักขาดแคลนน�้าในฤดูฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี ได้แก่ หน่วยแผนที่
ดินที่ 14 15 และ 16 มีเนื้อที่ 4,562 ไร่ หรือร้อยละ 25.80 ของพื้นที่โครงการฯ