Page 18 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6 ก า ร จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร ดิน
ช่วงเริ่มเพาะปลูก ควรเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมจนถึงปลายเดือนกันยายน เนื่องจากเป็นช่วงเวลา
ที่มีปริมาณน�้าฝนเพียงพอต่อความต้องการของพืช
ช่วงน�้ามากเกินพอ (surplus water period) คือ ช่วงที่มีปริมาณน�้าฝนมากกว่าค่าศักย์ของ
การระเหยน�้า (PET) อยู่ในช่วงระหว่างต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกันยายน แสดงว่าปริมาณน�้าฝนในช่วง
ดังกล่าวเป็นช่วงที่ความสมดุลของน�้าในดินมีมากพอตามความต้องการของพืช
ช่วงขาดน�้า (deficit period) คือ ช่วงที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของค่าศักย์ของการระเหยน�้า
(0.5PET) อยู่ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนเมษายนของปีถัดไป แสดงว่าปริมาณน�้าฝนในช่วง
ดังกล่าวมีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช
4. สภำพภูมิประเทศและสภำพทำงธรณีวิทยำ
สภาพภูมิประเทศของพื้นที่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริส่วนใหญ่
เป็นที่ดอน มีลักษณะเป็นภูเขา เนินเขาและลูกคลื่นลอนชันบริเวณตอนกลางของพื้นที่ มีความลาดชันประมาณ
12-35 เปอร์เซ็นต์ เป็นลูกคลื่นลอนลาด ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยและพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงราบเรียบ
บริเวณทางตะวันออกของพื้นที่ มีความลาดชันประมาณ 1-12 เปอร์เซ็นต์ มีความสูงจากระดับน�้าทะเลปานกลาง
180-420 เมตร มีจุดสูงสุดจากระดับน�้าทะเลประมาณ 420 เมตร บริเวณภูไม้รวกรองลงมาคือ บริเวณตอนกลาง
ของพื้นที่ (ทางเหนือของภูไม้รวก) สูงกว่าระดับน�้าทะเลประมาณ 397 เมตร และบริเวณภูโป่งแดง สูงจากระดับ
น�้าทะเลประมาณ 359 เมตร ตามล�าดับ จุดต�่าสุดอยู่บริเวณห้วยตาดไฮใหญ่ตอนล่าง สูงจากระดับน�้าทะเล
ปานกลางประมาณ 180 เมตร
ข้อมูลทางธรณีวิทยา (กรมทรัพยากรธรณี, 2544; 2550) ที่ส�าคัญของพื้นที่โครงการศูนย์ศึกษา
การพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินในกลุ่มหินตะกอน (Sedimentary rocks)
แบ่งเป็น 4 หมวดหิน อธิบายรายละเอียด ได้ดังนี้
4.1 หมวดหินพระวิหำร (JKpw) ประกอบด้วย หินทราย หินทรายแป้งเนื้อแดง มีหินปูนแทรกสลับ
เป็นชั้นบางๆ เกิดในยุคจูแรสซิก (Jurassic) มีอายุประมาณ 145-200 ล้านปี
4.2 หมวดหินโคกกรวด (Kkk) ประกอบด้วย หินทรายแป้งเนื้ออ่อนและหินทรายเนื้อแน่นปานกลาง
เกิดในยุคครีเทเซียส (Cretaceous) มีอายุประมาณ 65-145 ล้านปี
4.3 หมวดหินภูพำน (Kpp) ประกอบด้วย หินทราย มีแนวหินกรวดมนแทรกสลับในแนวขวางและแนวดิ่ง
เป็นชั้นบางๆ เกิดในยุคครีเทเซียส (Cretaceous) มีอายุประมาณ 65-145 ล้านปี
4.4 หมวดหินเสำขัว (Ksk) ประกอบด้วย หินทรายแป้งที่ไม่แข็งตัวและหินทรายปนหินกรวดมน
เกิดในยุคครีเทเซียส (Cretaceous) มีอายุประมาณ 65-145 ล้านปี