Page 19 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ 7
5. สภำพดินและลักษณะกำรใช้ประโยชน์
ลักษณะดินในพื้นที่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริร้อยละ 36.94
ของพื้นที่จะมีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย และมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต�่า ใช้เป็นพื้นที่ท�าการเกษตรปลูกข้าว
พืชไร่ ไม้ผล หรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 84.16 เป็นดินที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย ใช้เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล
หรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 33.83 เป็นดินในพื้นที่ลาดชันสูง ส่วนใหญ่จะอนุรักษ์ไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้ หรือพื้นที่ต้นน�้า
ล�าธาร ร้อยละ 25.80 เป็นดินตื้น ใช้ปลูกไม้โตเร็ว สวนป่า หรือเป็นพื้นที่ป่าไม้ และร้อยละ 2.48 เป็นพื้นที่น�้า
6. สภำพดินปัญหำและข้อจ�ำกัดกำรใช้ประโยชน์ทำงกำรเกษตร
6.1 สภำพปัญหำทำงกำยภำพของศูนย์พระรำชด�ำริ
พระราชด�าริถึงต้นเหตุของปัญหาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ
จากเอกสารข้อมูลส่วนพระองค์ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ส�านักงาน กปร. (ส�านักงาน
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ, 2542) ทรงมีพระราชกระแส
ถึงต้นเหตุของปัญหาของศูนย์ฯ มีความตอนหนึ่งว่า
“...ศูนย์ศึกษำกำรพัฒนำภูพำน อ�ำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เดิมเป็นป่ำโปร่ง คนไปตัดไม้
ส�ำหรับเป็นฟืนและใช้พื้นที่ส�ำหรับท�ำเกษตรกรรม ป่ำไม้ที่อยู่เหนือพื้นที่ถูกท�ำลำยไปมำก
จึงไม่มีน�้ำในหน้ำแล้ง น�้ำไหลแรงในหน้ำฝน ท�ำให้มีกำรชะล้ำง (erosion)
หน้ำดิน (top soil) บำงลง และเกลือที่อยู่ข้ำงใต้จะขึ้นเป็นหย่อมๆ...”
พร้อมกันนี้ ได้พระราชทานข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของดินบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานว่า
“...เป็นดินทรำย ดินเค็ม ขำดน�้ำ...”
จากผลการส�ารวจและศึกษาทรัพยากรในศูนย์ฯ (กองส�ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน, 2559) สามารถ
ยืนยันเป็นอย่างดีว่าการวิเคราะห์สภาพของปัญหาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง
ซึ่งรายงานปัญหาเรื่องดินได้ดังนี้
6.2 สรุปทรัพยำกรดินที่เป็นปัญหำถ้ำน�ำมำใช้ในกำรท�ำกำรเกษตร
6.2.1 ปัญหำดินมีเนื้อดินค่อนข้ำงเป็นทรำย
เนื่องจากทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่โครงการฯ ส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นกลุ่มดินเนื้อหยาบ
ประเภทดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ที่เกิดจากวัตถุต้นก�าเนิดดินที่เป็นหินทราย ท�าให้ดินมีลักษณะ
ที่ไม่อุ้มน�้า ง่ายต่อการกัดกร่อน ความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต�่า ส่งผลให้ดิน
มีความอุดมสมบูรณ์ต�่า มีเนื้อที่ 6,373 ไร่ หรือร้อยละ 36.94 ของพื้นที่โครงการฯ จ�าแนกตามสภาพพื้นที่ ได้ดังนี้