Page 16 - ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ปลูกในชุดดินนครพนม จังหวัดบึงกาฬ
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         8








                       กิโลกรัมต่อไร่  ให้ผลผลิตข้าวโพดต่ ากว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ดทั้ง 2 วิธี แต่การใส่ปุ๋ยชนิดเม็ดทั้ง
                       อัตรา 60 และ 120 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าวโพดไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                       ชนิดอัดเม็ดมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดผง
                              Donatus  et  al.  (2011)  ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการธาตุอาหารส าหรับข้าวโพดหวานใน

                       ไนจีเรีย โดยท าการทดลองใส่ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ปีก 4 อัตรา ได้แก่ 0 5 10 และ 15 ตันต่อเฮกแตร์ และ
                       การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 4 อัตรา ได้แก่ 0 40 80 และ 120 กิโลกรัม N ต่อเฮกแตร์ พบว่า อัตราการใช้ปุ๋ย
                       คอกมูลสัตว์ปีก และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 80 กิโลกรัม N  ต่อเฮกแตร์ มีผลให้ความสูง ดรรชนี
                       พื้นที่ใบและผลผลิตสูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ  โดยการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 15 ตันต่อเฮกแตร์

                       ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 80 กิโลกรัม N ต่อเฮกแตร์ ส่งผลให้มีผลผลิตเมล็ดสูงที่สุด
                              อนุสรณ์ (2544) ศึกษาปริมาณอินทรียวัตถุและไนโตรเจนทั้งหมดในดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวโพด
                       พบว่า ดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปปั้นเม็ดอัตรา 4 ตันต่อไร่ มีปริมาณอินทรียวัตถุ และไนโตรเจนทั้งหมด
                       สูงกว่าดินที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปไม่ปั้นเม็ดอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ส าหรับปริมาณฟอสฟอรัสและ

                       โพแทสเซียมขึ้นอยู่กับอัตราการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ โดยพบว่า เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 4 ตันต่อไร่ ดินที่ใส่
                       ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปปั้นเม็ดมีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมตกค้างอยู่ในดินสูงกว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                       ในรูปไม่ปั้นเม็ดอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

                              นิภา (2540)  ศึกษาผลของการปลูกถั่วลิสงและถั่วปุ๋ยพืชสดแซมข้าวโพดต่อผลผลิตข้าวโพด
                       และสมบัติดิน พบว่า ปุ๋ยอินทรีย์มีผลต่อผลผลิตข้าวโพดโดยไม่ได้มาจากการเติมธาตุอาหารให้แก่ดิน
                       เพียงอย่างเดียว โดยการปลูกพืชแซมในปีที่ 1 และ 2 ไม่มีผลต่อผลผลิตข้าวโพด ในขณะที่ปีที่ 3 มีผล
                       ต่อผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีท าให้สมบัติ
                       ทางกายภาพของดินเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากท าให้ดินมีลักษณะร่วนซุยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของ

                       พืช รากพืชสามารถแทงลงไปในดินได้ง่าย ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของน ้าและอากาศเกิดได้ดีขึ้น
                              ศิริเนตร (2545) ศึกษาเรื่องการใช้มูลไก่เป็นปุ๋ยฟอสฟอรัสส าหรับข้าวโพดในดินออกซิซอลส์
                       ชุดดินท่าใหม่ โดยเปรียบเทียบผลการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัส มูลไก่และปุ๋ยเคมี

                       ฟอสฟอรัสร่วมกับมูลไก่ อัตรา 50 100 และ 200 มิลลิกรัม P O  ต่อไร่ ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต
                                                                          2 5
                       และการดูดใช้ฟอสฟอรัสของข้าวโพด พบว่า การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสทั้งในรูปปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสมูลไก่และ
                       ปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสร่วมกับมูลไก่มีผลท าให้การเจริญเติบโต น้ าหนักแห้งตอซัง ผลผลิตฝักและการดูดใช้
                       ธาตุอาหารฟอสฟอรัสของข้าวโพดที่ปลูกในดินออกซิซอลส์ ชุดดินท่าใหม่ สูงกว่าไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส

                       อย่างมีนัยส าคัญยิ่ง เมื่อเพิ่มอัตราการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสข้าวโพดมีความสูงเส้นรอบวงล าต้น น้ าหนักแห้ง
                       ผลผลิตและการดูดใช้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น ข้าวโพดที่ได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปมูลไก่และในรูป
                       ปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสร่วมกับมูลไก่มีการเจริญเติบโต ผลผลิต ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดสูงกว่าข้าวโพดที่
                       ได้รับปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปปุ๋ยเคมีและการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปของมูลไก่มีผลข้างเคียงต่อการ

                       เปลี่ยนแปลงพีเอช (pH) และค่าการน าไฟฟ้า (EC) หรือความเค็มของดินน้อยมาก
                              ลักษณะของกลุ่มชุดดินที่ 6 มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากการทับ
                       ถมของตะกอนล าน้ าในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่ตะพักล าน้ าระดับต่ า สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้าง

                       ราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่าร้อยละ 2 มีการพัฒนาการของดินมานาน การระบายน้ าของดินเลว

                       หรือค่อนข้างเลว มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรด
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21