Page 13 - ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ปลูกในชุดดินนครพนม จังหวัดบึงกาฬ
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         5








                       เป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขน
                       อ่อนๆ ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว บางพันธุ์
                       ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จ านวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ 8-48 ใบ (Wellhausen  and
                       Edwin  John,  1952) ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของล าต้น

                       ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ าลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และล าต้น ช่อดอกตัวผู้ (tassel) อยู่ตอนบนสุดของ
                       ล าต้น ดอกตัวผู้ดอกหนึ่งจะมีอับเกสร (anther)  3 อับ แต่ละอับยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร และมี
                       ละอองเกสร (pollen  grain)  ประมาณอับละ 2,500 เกสร ช่อดอกตัวผู้ของข้าวโพดธรรมดา 1 ต้น
                       อาจจะผลิตละอองเกสรได้ถึง 25,000,000 เกสร หรือเฉลี่ยแล้วมีละอองเกสรมากกว่า 25,000 เกสร

                       ที่จะไปผสมเมล็ดบนฝักซึ่งมีเมล็ดประมาณ 800-1,000 เมล็ด ส่วนดอกตัวเมียอยู่รวมกันเป็นช่อ
                       เกิดขึ้นตอนข้อกลาง ๆ ล าต้น ฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็น
                       สีนวล (พิเชษฐ์ และคณะ, 2554)
                              ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนีย 30B80 มีลักษณะประจ าพันธุ์ คือ อายุการเก็บเกี่ยว เก็บสด

                       100 วัน เก็บแห้ง 120 วัน ล าต้นและรากแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ผลผลิตเฉลี่ย 1,440–1,780 กิโลกรัม
                       ต่อไร่ ความชื้นในเมล็ดต่ า ทนแล้ง ปรับตัวได้ทุกสภาพดิน (ไพโอเนีย, 2557)
                              สมชาย และคณะ (2547) ได้พัฒนาต้นแบบการตรวจสอบขั้นตอนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                       หลังนาแบบบูรณาการ สามารถพัฒนาระบบการผลิตจนได้ผลผลิตไม่ต่ ากว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่
                       และช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการ
                       เลี้ยงสัตว์ โดยมีขั้นตอนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาแบบบูรณาการ ซึ่งเริ่มแรกท าการเลือกพื้นที่
                       นา (3-6 เดือนก่อนปลูก) ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ต่ าและระบายน้ ายาก ในกรณีที่พื้นที่นาไม่สม่ าเสมอ
                       จ าเป็นต้องปรับพื้นที่ให้เรียบก่อนปลูก เพื่อสะดวกในการให้น้ า และระบายน้ าออกจากแปลงเพื่อ

                       หลีกเลี่ยงปัญหาน้ าท่วมขังในแปลง ควรเป็นพื้นที่นาที่หน้าดินลึกไม่ต่ ากว่า 30 เซนติเมตร เพื่อให้ราก
                       ข้าวโพดสามารถเจริญเติบโต ดูดใช้น้ า และอาหารจากดินได้ดี รวมทั้งสามารถอุ้มน้ าไว้ได้ดี ส่วนใน
                       กรณีที่ดินนาเป็นกรดหรือกรดจัด ควรปรับปรุง pH ของดินก่อนท านาหรือก่อนปลูกข้าวโพดด้วยการ

                       ใส่ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินฟอสเฟต ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดี ในดินที่มี pH
                       สูงกว่า 5.5 นอกจากนี้การเลือกชนิดของดินที่จะใช้ปลูกข้าวโพดนับว่ามีความส าคัญอย่างมาก ซึ่งดิน
                       นาที่เหมาะส าหรับการปลูกข้าวโพด ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนทราย  มีการระบาย
                       น้ าดี และมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร ในการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ (3-4 สัปดาห์ก่อนปลูก) ควร

                       เลือกใช้พันธุ์ข้าวโพดลูกผสม โดยเฉพาะลูกผสมเดี่ยว ซึ่งให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกในสภาพนา นอกจากนี้
                       ลักษณะพันธุ์ข้าวโพดที่เหมาะสมต่อพื้นที่นา คือ มีล าต้น และระบบรากแข็งแรง ต าแหน่งฝักต่ า และ
                       ต้นเตี้ยไม่หักล้มง่าย ทั้งนี้ควรตรวจสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก และเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มี
                       คุณภาพดี คือ มีความงอกมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และมีความแข็งแรงสูง ถ้าปลูกข้าวโพดฤดูแล้งโดย

                       อาศัยความชื้นที่หลงเหลืออยู่ในดินหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นภาวะที่ดินมีความชื้นค่อนข้างจ ากัดจึง
                       ต้องการเมล็ดข้าวโพดที่มีความงอกและความแข็งแรงสูง หากใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพต่ า ความงอกไม่ดี
                       อาจท าให้ต้องตัดสินใจปลูกใหม่ ซึ่งท าให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องให้น้ า เตรียมดิน และ
                       ปลูกใหม่อีกครั้งหนึ่ง ท าให้การปลูกล่าช้ากว่าก าหนด ส่งผลให้การออกดอกตรงกับช่วงที่อุณหภูมิสูง

                       และเก็บเกี่ยวในช่วงมีฝนชุก ท าให้ได้ผลผลิตต่ า และคุณภาพเมล็ดไม่ดี ส่วนการเตรียมดิน (1-2
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18