Page 10 - ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ปลูกในชุดดินนครพนม จังหวัดบึงกาฬ
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2








                                                        หลักการและเหตุผล

                              ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Field  corn,  Zea  mays  L.)  เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความส าคัญต่อ
                       อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งประมาณร้อยละ 90.95 ของผลผลิตทั้งหมดใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร

                       สัตว์ของประเทศ ปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีประมาณ 7.12 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 4.352
                       ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 611 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งประเทศไทยมีความจ าเป็นต้องใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3.5
                       ล้านตัน เพื่อผลิตอาหารสัตว์ปีละ 8.4 ล้านตัน และปัจจุบันได้มีการน าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาผลิต
                       เอทานอล 3.87 ล้านตัน ท าให้มีการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพียง 0.27 ล้านตัน ความต้องการ

                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นล าดับ ส่งผลให้ราคามีโอกาสที่จะสูงกว่า
                       ตลาดโลกในช่วงที่พ้นฤดูการเก็บเกี่ยว (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2555) จากข้อมูลดังกล่าวพบ
                       ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความเกี่ยวพันต่อการครองชีพหมวดอาหารโดยตรง สร้าง
                       งาน และสร้างอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังน าเงินตราเข้ามาจากต่างประเทศปีละหลายหมื่น

                       ล้านบาท นับได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูก ทั้งนี้เนื่องจาก
                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็นพืชที่มีศักยภาพสามารถปลูกในพื้นที่นาได้ สามารถทดแทนการท านาปรังได้ดี
                       เพราะการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาใช้เวลาน้อยเนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น และใช้น้ าน้อยกว่าการ

                       ท านาปรัง 1 ใน 3 เท่า (สมชาย, 2537)
                              ดังนั้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาวะปัจจุบัน ที่มีแนวโน้ม
                       มากขึ้น จ าเป็นต้องเพิ่มผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การเพิ่มผลผลิตของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                       นั้น จ าเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ย และการให้น้ าอย่างมีประสิทธิภาพ (ดิเรก และคณะ, 2542) แต่เกษตรกร
                       ยังขาดองค์ความรู้ในการเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะการให้น้ าที่มีประสิทธิภาพร่วมกับการใส่ปุ๋ยที่

                       เหมาะสมในพื้นที่ที่มีศักยภาพในปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะในช่วงการปลูกข้าวโพด
                       เลี้ยงสัตว์หลังการท านา การใส่ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น จะเกิดปัญหาด้านการเพิ่มต้นทุนให้กับเกษตรกร การใส่
                       ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน จึงน่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งเพื่อลดต้นทุนการผลิต ท าให้ทราบถึงปริมาณธาตุ

                       อาหารที่มีอยู่ในดิน สภาพความเป็นกรด-เป็นด่าง แล้วน ามาประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืช
                       ที่ปลูก ดังนั้น จึงท าการศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตอบสนองการใส่ปุ๋ย
                       ตามค่าวิเคราะห์ดินมีผลต่อต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการ
                       ส่งเสริมเกษตรกรต่อไป
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15