Page 24 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         13


                  จ่านวน 549,900 ตันของธาตุอาหาร ( N + P O  + K O )  แต่ใส่คืนเพียง 118,200 ตันของธาตุอาหารหรือ
                                                               2
                                                        2 5
                  ชดเชยในอัตราส่วน 1 : 4.65  และในระหว่างปี 2525-2531 ค่าเฉลี่ยของธาตุอาหารพืช ( N + P O  + K O )
                                                                                                 2 5
                                                                                                        2
                  ที่สูญเสียไปมีจ่านวนรวม 707,700  ตัน  แต่เกษตรกรใส่ปุ๋ยชดเชยเพียง 253,500  ตันเท่านั้นหรือชดเชยใน
                  อัตราส่วน 1 : 2 .79  ซึ่งยังถือเป็นการใส่ปุ๋ยทดแทนในอัตราที่ต่่ามาก

                         จากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่า  พื้นที่ท่าการเกษตรของประเทศไทยมีปัญหาดินเสื่อม
                  ความอุดมสมบูรณ์  ซึ่งสอดคล้องกับรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2558ข) ว่า พื้นที่ในประเทศไทยมีระดับความ

                  อุดมสมบูรณ์ต่่ามากสุดถึงร้อยละ 49.38  ระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลางร้อยละ 44.07  และระดับความ
                  อุดมสมบูรณ์สูงร้อยละ 6.58  โดยพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือดินมีความอุดมสมบูรณ์ในระดับต่่ามากที่สุด

                  คือ ร้อยละ 71.53  รองลงมาได้แก่ ภาคใต้  ภาคตะวันออก  ภาคเหนือ และภาคกลาง ดังนี้ ร้อยละ 67.28,
                  47.68, 25.10 และ 11.19 ตามล่าดับ ดังตารางที่ 1.3 และภาพที่ 1.2  สาเหตุที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ในระดับต่่า  เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ดินทรายที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินทราย

                  ที่มีคุณภาพต่่า  ส่งผลให้ปริมาณอนุภาคดินเหนียวและอินทรียวัตถุในดินต่่า  นอกจากสาเหตุทางธรรมชาติ
                  แล้วยังพบว่ากิจกรรมของมนุษย์ก็ส่งผลต่อระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน  โดยในอดีตมากกว่า 50  ปีที่ผ่าน

                  มานี้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากระบบนิเวศป่าไม้มาเพื่อท่าการเกษตร  โดยเฉพาะระบบการเกษตร

                  เชิงเดี่ยวซึ่งเป็นระบบที่ขาดการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและอนุรักษ์ดินอย่างเพียงพอ  ท่าให้ดุลย
                  ภาพของธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ ดินเกิดการกร่อน และการชะล้างธาตุอาหารสูง ปริมาณ

                  อินทรียวัตถุในดินลดลง ส่งผลท่าให้ผลผลิตลดลง  และมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น  จึงท่าให้ดินมีความอุดม
                  สมบูรณ์ลดลงและดินเกิดสภาพเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้น


                  ตารางที่ 1.3 การกระจายของข้อมูลระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินชั้นบนในประเทศไทย

                                                                ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                      จํานวน
                         ภาค                            ต่ํา              ปานกลาง                สูง
                                       ข้อมูล
                                                จํานวน  เปอร์เซ็นต์  จํานวน  เปอร์เซ็นต์  จํานวน  เปอร์เซ็นต์
                  กลาง                12,172     1,362     11.19      7,175     58.95     3,635     29.86

                  ตะวันออก             4,436     2,114     47.66      2,127     47.95      195       4.40

                  ตะวันออกเฉียงเหนือ  31,642  22,633       71.53      8,868     28.03      141       0.45
                  เหนือ               15,498     3,890     25.10     10,915     70.43      693       4.47

                  ใต้                  8,263     5,559     67.28      2,652     32.09       52       0.63

                         รวม          72,011  35,558       49.38     31,737     44.07     4,716      6.55

                  ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2558ข)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29