Page 26 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         15


                         ซึ่งปัญหาดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ท่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน  ส่งผลกระทบต่อการ

                  เจริญเติบโตและผลผลิตของพืช  ประกอบด้วย
                         1) อินทรียวัตถุในดิน

                             อินทรียวัตถุในดินมีบทบาทที่ส่าคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

                  โดยเป็นแหล่งส่ารองธาตุอาหารพืชผ่านการหมุนเวียนจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน  และมีบทบาท
                  ต่อคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดิน  บทบาทของอินทรียวัตถุในระยะสั้นมีความส่าคัญมากใน

                  การสลายตัวและปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช  โดยมวลชีวภาพจุลินทรีย์ในดินจะสลายตัวและ
                  ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างรวดเร็ว  ขณะที่อินทรียวัตถุส่วนที่เป็นชิ้นปลดปล่อยธาตุอาหารออกอย่างช้าๆ

                  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมี  จากรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2558ข) พบว่า ดินในประเทศไทยส่วนใหญ่มี
                  ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่่า (< 1.5 เปอร์เซ็นต์) จนถึงปานกลาง (1.5 – 3.5 เปอร์เซ็นต์) คิดเป็นร้อยละ

                  62.33 และ 33.02 ของจ่านวนข้อมูลทั้งหมด  โดยดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุระดับต่่า (< 1.5 เปอร์เซ็นต์) พบ

                  กระจายสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดเป็นร้อยละ 61.91 ของผลวิเคราะห์ดินที่มีอินทรียวัตถุต่่าทั่ว
                  ประเทศ ดังตารางที่ 1.4 และภาพที่ 1.3   เมื่อพิจารณาภาพรวมของปริมาณอินทรียวัตถุพบว่า พื้นที่ภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือดินมีระดับปริมาณอินทรียวัตถุต่่า  (<  1.5  เปอร์เซ็นต์) มากที่สุดคือ ร้อยละ 86.36

                  รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออก  ภาคใต้  ภาคเหนือ และภาคกลาง ดังนี้ ร้อยละ 59.95, 52.47, 43.67 และ
                  29.14 ตามล่าดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณของมวลชีวภาพ (biomass) ที่มีน้อยตาม

                  ธรรมชาติและความแห้งแล้ง  ท่าให้เกิดการสะสมอินทรียวัตถุในดินน้อยกว่าภาคอื่นๆ  อีกทั้งดินส่วนใหญ่ของ
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายที่มีคุณภาพต่่า  ปริมาณอนุภาคดินเหนียวน้อย  ประกอบกับในอดีตมี

                  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากระบบนิเวศป่าไม้มาเพื่อท่าการเกษตรโดยเฉพาะระบบการเกษตรเชิงเดี่ยว
                  ซึ่งเป็นระบบที่ขาดการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและอนุรักษ์ดินอย่างเพียงพอ  ดินเกิดการกร่อนและ

                  การชะล้างสูง  ส่งผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลง

                  ตารางที่ 1.4 การกระจายของข้อมูลปริมาณอินทรียวัตถุที่อยู่ในระดับต่างๆ ในแต่ละภาคของประเทศไทย

                                                                 ระดับอินทรียวัตถุ (เปอร์เซ็นต์)
                                       จํานวน
                         ภาค                         ต่ํา (<1.5)     ปานกลาง (1.5 - 3.5)       สูง (>3.5)
                                        ข้อมูล
                                                 จํานวน  เปอร์เซ็นต์  จํานวน  เปอร์เซ็นต์  จํานวน  เปอร์เซ็นต์
                  กลาง                 12,792     3,728     29.14     7,256     56.72      1,808    14.13

                  ตะวันออก              4,804     2,880     59.95     1,649     34.33      275       5.72
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ  34,023  29,382        86.36     4,378     12.87      263       0.77

                  เหนือ                15,882     6,935     43.67     8,125     51.16      822       5.18

                  ใต้                   8,645     4,536     52.47     3,734     43.19      375       4.34

                         รวม           76,146  47,461       62.33    25,142     33.02      3,543     4.65

                  ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2558ข)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31