Page 23 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         12


                         2.1 ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน

                             ตามธรรมชาติการชะล้างพังทลายของดินจะเกิดขึ้นอยู่แล้ว  แต่อัตราการแตกกระจายของดิน
                  เป็นไปอย่างช้าๆ  เมื่อมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องจึงเป็นตัวเร่งท่าให้เกิดความเสื่อมโทรมรวดเร็วขึ้น ได้แก่ การน่า

                  พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น พื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

                  และน่าพื้นที่ดอนที่ง่ายต่อการชะล้างพังทลายมาใช้ในการเพาะปลูกโดยมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้่าที่ถูกต้อง
                  ตามหลักวิชาการ  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดินอย่าง

                  มาก  โดยเฉพาะดินบนซึ่งเป็นส่วนของดินที่มีธาตุอาหารและปริมาณอินทรียวัตถุอยู่มาก  เมื่อมีการชะล้าง
                  พังทลายดินบนถูกชะล้างพัดพาสูญหายไปกับน้่าที่ไหล่บ่าจากพื้นที่สูงลงสู่พื้นที่ต่่าสู่แหล่งน้่า  เมื่อเวลาผ่านไป

                  นานๆ เข้าดินในพื้นที่การเกษตรจะเสื่อมคุณภาพ  ผลผลิตพืชที่ปลูกลดลง  ถ้าหากไม่มีการแก้ไขปรับปรุงอย่าง
                  ถูกต้อง  ดินจะเกิดการเสื่อมโทรมลงจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ปลูกพืชให้ได้ผลผลิตที่เหมาะสมนอกจากนี้ยัง

                  ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ที่ท่าให้แม่น้่าล่าคลองตื้นเขิน  โดยกรมพัฒนาที่ดิน (2543ก) ได้

                  ประเมินการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทยจากการใช้สมการสูญเสียดินสากล (universal  loss
                  equation:  USLE) และรายงานไว้ว่าพื้นที่ส่วนต่างๆ ของประเทศมีอัตราการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 50

                  ตันต่อไร่ต่อปี  โดยแต่ละภาคจะมีอัตราการสูญเสียดินมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัย ลักษณะของดิน

                  ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ พืชพรรณที่ขึ้นปกคลุม  และมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้่า พบว่า ภาคใต้มีการ
                  กร่อนของดินสูงกว่าภาคอื่นคือ พื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 – 50 ตันต่อไร่ต่อปี  ขณะที่

                  ภาคเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 – 38 ตันต่อไร่ต่อปี  ภาคกลางพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสีย
                  ดินระหว่าง 0- 17 ตันต่อไร่ต่อปี  ภาคตะวันออกพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 – 16 ตันต่อไร่ต่อปี

                  ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 –  10 ตันต่อไร่ต่อปี  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี
                  การสูญเสียดินต่่าที่สุด  ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 0 – 4 ตันต่อไร่ต่อปี รวมพื้นที่ที่ต้องได้รับการดูแล ป้องกันและ

                  รักษาไว้จากการเกิดการชะล้างพังทลายประมาณ 134.54 ล้านไร่ หรือเท่ากับร้อยละ 41.95 ของพื้นที่ทั้งหมด

                  ของประเทศ
                         2.2 ปัญหาดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์

                             ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์  มีสาเหตุมาจากวัตถุต้นก่าเนิดดินส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีแร่ธาตุ
                  อาหารพืชเป็นองค์ประกอบที่ต่่า  ประกอบกับประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนที่มีฝนตกชุกการสลายตัวของแร่ธาตุ

                  ต่างๆ เปลี่ยนสภาพได้เร็วและชะล้างไปกับน้่าได้ง่าย  อีกทั้งการใช้ที่ดินอย่างไม่ถูกวิธี  มีการจัดการดินไม่

                  เหมาะสม  โดยปราศจากการปรับปรุงบ่ารุงดินอย่าเหมาะสมและต่อเนื่อง  ท่าให้ธาตุอาหารพืชซึ่งแต่เดิมมี
                  น้อยอยู่แล้วถูกพืชดูดใช้ไปในการเจริญเติบโตเสียเป็นส่วนใหญ่  เมื่อมีการน่าผลผลิตของพืชออกจากพื้นที่ย่อม

                  ท่าให้ธาตุอาหารในดินสูญเสียไปผลผลิตด้วย  ดังรายงานของสรสิทธิ (2535) ได้ชี้ให้เห็นว่าผลผลิตของข้าวใน
                  นา 1 ตัน จะท่าให้ดินสูญเสียปุ๋ยไนโตรเจน (N) ไป 20 กิโลกรัม  ฟอสฟอรัส (P O ) 11 กิโลกรัม และ
                                                                                        2 5
                  โพแทสเซียม (K O) 27 กิโลกรัม  ซึ่งควรจะต้องชดเชยโดยใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 100 กิโลกรัม หรือปุ๋ยอินทรีย์
                               2
                  จ่านวน 4,000 กิโลกรัม  จึงจะสมดุลกับที่สูญเสียไป  แต่เกษตรกรได้ใส่ปุ๋ยทดแทนในอัตราที่ต่่ามาก  จึงมีผล
                  ให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง  ในขณะเดียวกันในกรณีของพืชส่าคัญทางเศรษฐกิจ 4 ชนิด คือ ข้าว  อ้อย

                  ข้าวโพด และมันส่าปะหลัง  ในปี 2519 ได้ดูดซึมปุ๋ยในดินติดไปกับผลผลิตจากพื้นที่เพาะปลูก 68.8 ล้านไร่
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28