Page 295 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 295

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-2






                             2)  ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ดอน มีเนื้อที่ 232,603ไร่ หรือร้อยละ 23.06 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา

                  พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินร่วนหยาบ เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย

                  หรือดินทรายปนร่วน ดินมีการระบายนํ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืชอาจขาดนํ้าได้
                  ในช่วงฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานๆ

                             3) ดินทรายจัดที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 8,083 ไร่ หรือร้อยละ 0.80 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่

                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เนื้อดินเป็นดินทราย ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลวถึงดีปานกลางความอุดมสมบูรณ์

                  ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืชขาดแคลนนํ้าได้ง่ายเป็นระยะเวลานานและมีนํ้าท่วมขังในฤดูฝนทําความเสียหาย
                  กับพืชที่ไม่ชอบนํ้า

                             4) ดินทรายจัดที่ดอน มีเนื้อที่ 91,597 ไร่ หรือร้อยละ 9.08 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่

                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด เนื้อดินเป็นดินทราย ดินมีการระบายนํ้าดีถึงค่อนข้างมาก

                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืชขาดแคลนนํ้าได้ง่ายเป็นระยะเวลานาน
                             5) ดินตื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 3,498 ไร่ หรือร้อยละ 0.35 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ

                  หรือค่อนข้างราบเรียบ เนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทราย ดินร่วนดินเหนียวหรือดินร่วนปนดินเหนียวที่มีกรวด

                  หรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมากภายในความลึก 50 เซนติเมตร ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของ
                  ดินตามธรรมชาติตํ่า ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไถพรวนตลอดจนการดูดซับนํ้าและแร่ธาตุอาหาร

                  ของพืช ทําให้พืชที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตํ่ามีนํ้าท่วมขังในฤดูฝนทําความเสียหายกับ

                  พืชที่ไม่ชอบนํ้า
                             6) ดินตื้นที่ดอน มีเนื้อที่ 7,415 ไร่ หรือร้อยละ 0.74 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ

                  หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินมีการระบายนํ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า เป็นดิน

                  ตื้นถึงลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไถพรวนตลอดจนการดูดซับนํ้า
                  และแร่ธาตุอาหารของพืช ทําให้พืชที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตํ่า

                             7)  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 226,012 ไร่ หรือร้อยละ 22.41 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา เป็นพื้นที่ที่มี

                  ความลาดชันสูงหรือพื้นที่ภูเขา มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการทําเกษตรกรรม

                  เนื่องจากลักษณะของพื้นที่และดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย การเกิดดินถล่มและนํ้าไหลบ่าเมื่อฝนตกหนัก
                  ยากต่อการไถพรวน การจัดการพื้นที่เพื่อทําเกษตรกรรมต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งต้นนํ้าลําธาร


                             การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืช

                             การประเมินความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินทางเศรษฐกิจเป็นการประเมินและเปรียบเทียบผล
                  ที่ได้จากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในแต่ละหน่วยที่ดินในลักษณะของผลตอบแทนต่อไร่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า

                  ในแต่ละหน่วยที่ดินที่ได้ใช้ประโยชน์ไปในกิจกรรมประเภทต่างๆ นั้น กิจกรรมใดจะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมหรือ

                  คุ้มค่าต่อการลงทุนมากน้อยกว่ากันเพียงใด มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจระดับใดและเพื่อพิจารณาว่า ในหน่วยที่ดิน
   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300