Page 294 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 294

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน









                                                         บทที่ 5

                                                 สรุปและข้อเสนอแนะ




                  5.1  สรุปผลการศึกษา

                        ลุ่มนํ้าหลักโตนเลสาป ประกอบด้วย ลุ่มนํ้าสาขาจํานวน 3 ลุ่มนํ้าสาขา ได้แก่

                        1) ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน (1701) มีเนื้อที่ 1,613.74 ตร.กม.หรือ 1,008,590 ไร่

                        2) ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) มีเนื้อที่ 932.93 ตร.กม. หรือ 583.084 ไร่

                        3) ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703) มีเนื้อที่ 1,539.25 ตร.กม.หรือ 962,034 ไร่
                        จากการศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ

                  ของการผลิตพืชในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาของลุ่มนํ้าหลักโตนเลสาป พอสรุปผลการศึกษา ดังนี้

                        5.1.1  ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน (1701)

                             ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน มีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดเดียวคือ พื้นที่บางส่วนในอําเภอ โคกสูง

                  ตาพระยา วัฒนานคร อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวม 4 อําเภอ 15 ตําบล จากข้อมูลของกรมการปกครอง

                  กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2555 พบว่า มีจํานวนประชากร 98,075 คน เป็นเพศชาย 49,563 คน
                  และเพศหญิง 48,512 คน โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จํานวน 3,434 คน และอยู่นอกเขตเทศบาล

                  จํานวน 94,641 คน มีจํานวนครัวเรือนทั้งสิ้น 28,916 ครัวเรือน มีสมาชิกต่อครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีความหนาแน่น

                  ของประชากรเฉลี่ย 61 คนต่อตารางกิโลเมตร
                             สภาพการผลิตด้านการเกษตรที่สําคัญ ขึ้นอยู่กับการผลิตทางด้านการเกษตรเป็นหลัก จากการสํารวจ

                  ข้อมูลของกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ปี 2556 พบว่า

                  ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน มีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรทั้งหมด 613,594 ไร่ หรือร้อยละ 60.84

                  ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา 372,279 ไร่ หรือร้อยละ 36.91 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา อันดับสอง
                  คือ พื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง 106,397 ไร่ หรือร้อยละ 10.55 และอันดับสาม คือ พื้นที่ปลูกอ้อย 83,285 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ 10.55 ตามลําดับ ที่เหลือเป็นพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นๆ

                             สถานภาพของทรัพยากรดินในปัจจุบัน จากการศึกษาข้อมูลดินร่วมกับลักษณะสภาพพื้นที่
                  ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนบน สามารถสรุปปัญหาหรือข้อจํากัดของทรัพยากรดินได้ดังนี้

                             1) ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 80,399 ไร่ หรือร้อยละ 7.97 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบใน

                  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินร่วนหยาบ เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนร่วน
                  ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืชอาจขาดนํ้าได้

                  ในช่วงฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานๆ และมีนํ้าท่วมขังในฤดูฝนทําความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบนํ้า
   289   290   291   292   293   294   295   296   297   298   299