Page 291 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 291

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           4-33





                  ที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 55B และ 31B ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 3,425.00 และ 3,121.37 กิโลกรัมต่อไร่

                  ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด พบว่า การผลิตลําไยในหน่วยที่ดินที่

                  53B ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 72,600.06 บาทต่อไร่ สูงกว่าลําไยที่ปลูก
                  ในหน่วยที่ดินที่ 31B และ 55B ซึ่งได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 64,361.62

                  และ 62,534.65 บาทต่อไร่ ตามลําดับ แต่เมื่อนํามาจัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า ลําไย

                  ในหน่วยที่ดินที่ 31B มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง (S1) ส่วนลําไย ในหน่วยที่ดินที่ 53B

                  และ 55B มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)
                             การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในหน่วยที่ดินที่ 55B โดยลักษณะ

                  การเพาะปลูกจะมีการปลูกพืช 2 ครั้งในรอบปี ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน

                  เกษตรกรจะนิยมใช้พันธุ์ CP888 และ NK48 โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,100.63

                  กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,173.27 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อรวม
                  การผลิตทั้ง 2 ครั้งในรอบปี จะได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดรวม 2 ครั้ง 6,867.29

                  บาทต่อไร่ เมื่อนํามาจัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับ

                  ปานกลาง (S2)
                             การผลิตยางพารา มีการปลูกยางพาราในหน่วยที่ดินที่ 55B เกษตรกรใช้พันธุ์ RRIM 600

                  ได้รับผลผลิตเฉลี่ยเฉลี่ยต่อปี 303.11 กิโลกรัมต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด

                  เฉลี่ยต่อปี 2,310.22 บาทต่อไร่ เมื่อนํามาจัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า มีชั้นความเหมาะสม
                  ทางเศรษฐกิจในระดับเล็กน้อย (S3)

                             เขตนํ้าชลประทาน

                             การทํานา มีการปลูกข้าวในหน่วยที่ดินที่ 4(I) และ 7(I) โดยลักษณะการเพาะปลูกเป็น

                  การทํานา 2 ครั้ง คือ ทํานาปีตามด้วยนาปรัง การทํานาปีเกษตรกรจะทํานาหว่าน โดยเป็นข้าวเจ้าทั้งหมด

                  พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ คือ ขาวดอกมะลิ 105 ผลผลิตของข้าวเจ้านาปีที่เกษตรกรใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
                  ได้รับผลผลิตเฉลี่ยระหว่าง 424.91 – 567.33 กิโลกรัมต่อไร่ สําหรับข้าวนาปรัง เกษตรกรจะปลูกข้าวเจ้า

                  โดยทํานาหว่านทั้งหมด ข้าวเจ้านาปรังเกษตรกรใช้ข้าวพันธุ์ชัยนาท1 ได้รับผลผลิตเฉลี่ยระหว่าง 457.46 –

                  491.10 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อรวมการผลิตทั้ง 2 ครั้งในรอบปี ซึ่งมีรูปแบบการผลิตที่เหมือนกัน โดยเปรียบเทียบ
                  ตามหน่วยที่ดิน พบว่า การผลิตข้าวเจ้านาปีนาหว่าน (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน

                  (ชัยนาท1) ในหน่วยที่ดินที่ 4(I) ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดรวม 2 ครั้ง 8,103.02

                  บาทต่อไร่ สูงกว่าการผลิตในหน่วยที่ดินที่ 7(I) ซึ่งได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดรวม
                  2 ครั้ง 3,401.28 บาทต่อไร่ เมื่อนํามาจัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน

                  (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน (ชัยนาท1) ในหน่วยที่ดินที่ 4(I) มีชั้นความเหมาะสมทาง
   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295   296