Page 290 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 290

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           4-32





                  ตารางที่ 4-12 ชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (เขตนํ้าชลประทาน)

                             ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง ปีการผลิต 2555/56


                                              ประเภท                                     หน่วยที่ดิน
                                         การใช้ประโยชน์ที่ดิน                         4(I)       7(I)

                   ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน (ชัยนาท1)  S1    S2


                  หมายเหตุ : S1 =  ชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง
                             S2 =  ชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง
                             S3 =  ชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับเล็กน้อย


                        4.3.3) การวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจตามกลุ่มพืช

                             จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนและประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภท

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละหน่วยที่ดิน หากนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบตามกลุ่มพืช พอสรุปได้ดังนี้
                             เขตนํ้าฝน

                             การทํานา มีการปลูกข้าวนาปีในหน่วยที่ดินที่ 1โดยจะเป็นข้าวเจ้าทั้งหมด ซึ่งเกษตรกรจะทํา

                  ทั้งนาดําและนาหว่าน โดยเกษตรกรจะใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยข้าวเจ้านาปีนาหว่าน ได้รับ

                  ผลผลิตเฉลี่ย 410.98 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวเจ้านาปีนาดํา ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย 377.21 กิโลกรัมต่อไร่
                  เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด พบว่า ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน ได้รับผลตอบแทน

                  เหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 1,826.20 บาทต่อไร่ สูงกว่าข้าวเจ้านาปีนาดํา ซึ่งได้รับผลตอบแทนเหนือ

                  ต้นทุนผันแปรทั้งหมด 1,490.32 บาทต่อไร่ เมื่อนํามาจัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า ข้าวเจ้านาปี
                  ทั้ง 2 ประเภท มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             การผลิตมันสําปะหลัง มีการปลูกมันสําปะหลังในหน่วยที่ดิน 31B และ 52B เกษตรกรนิยม

                  ปลูกพันธุ์ห้วยบง เกษตรศาสตร์ ระยอง 5 และระยอง 80 โดยมันสําปะหลังที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 31B

                  ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 4,052.00 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าหน่วยที่ดินที่ 52B ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย 3,776.00
                  กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด พบว่า การผลิตมันสําปะหลัง

                  ในหน่วยที่ดินที่ 31B ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ย 5,503.38 บาทต่อไร่ สูงกว่า

                  มันสําปะหลังที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 52B ซึ่งได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 4,144.02
                  บาทต่อไร่ เมื่อนํามาจัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า มันสําปะหลังทั้ง 2 หน่วยที่ดิน มีชั้น

                  ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             การผลิตลําไย มีการปลูกลําไยในหน่วยที่ดินที่ 31B 53B 55B เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์
                  อีดอ โดยลําไยที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 53B ได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 3,826.67 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าลําไย
   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295