Page 292 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 292

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           4-34





                  เศรษฐกิจในระดับสูง (S1) ส่วนข้าวเจ้านาปีนาหว่าน (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน (ชัยนาท1)

                  ในหน่วยที่ดินที่ 7(I) มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                        4.3.4 การวิเคราะห์ปริมาณผลผลิตคุ้มทุน และระดับราคาคุ้มทุน

                             จากการวิเคราะห์ปริมาณผลผลิตคุ้มทุนและระดับราคาคุ้มทุน ของประเภทการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินในแต่ละหน่วยที่ดิน เมื่อนํามาเปรียบเทียบตามกลุ่มพืช พอสรุปรายระเอียดได้ดังนี้

                  (ตารางที่ 4-13)

                             เขตนํ้าฝน

                             การทํานา มีการปลูกข้าวนาปี ในหน่วยที่ดินที่ 1 ซึ่งเป็นข้าวเจ้านาดําและนาหว่าน พบว่า
                  การปลูกข้าวเจ้าทั้งรูปแบบการทํานาดําและนาหว่าน เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิตและรายได้คุ้มต่อ

                  การลงทุนทั้งหมด เนื่องจากปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิต ณ ระดับคุ้มทุน อยู่ในระดับที่ตํ่ากว่าปริมาณ

                  ผลผลิตและราคาผลผลิตที่เกษตรกรได้รับ
                             การผลิตมันสําปะหลัง มีการปลูกมันสําปะหลังในหน่วยที่ดินที่ 31B และ 52B พบว่า การปลูก

                  มันสําปะหลังทั้ง 2 หน่วยที่ดิน เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิตและรายได้คุ้มต่อการลงทุนทั้งหมด เนื่องจาก

                  ปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิต ณ ระดับคุ้มทุน อยู่ในระดับที่ตํ่ากว่าปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิต
                  ที่เกษตรกรได้รับ

                             การผลิตลําไย มีการปลูกลําไยในหน่วยที่ดินที่ 31 53B และ 55B ซึ่งเกษตรกรผลิตเป็นลําไย

                  นอกฤดูทุกหน่วยที่ดิน พบว่า การปลูกลําไยในหน่วยที่ดินต่างๆ ที่สํารวจ เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิต

                  และรายได้คุ้มต่อการลงทุนทั้งหมด เนื่องจากปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิต ณ ระดับคุ้มทุนอยู่ในระดับ
                  ที่ตํ่ากว่าปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิตที่เกษตรกรได้รับ

                             การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในหน่วยที่ดินที่ 55B โดยลักษณะ

                  การเพาะปลูก เป็นการเพาะปลูกพืช 2 ครั้ง ในรอบปี คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน-ข้าวโพดเลี้ยง ปลายฝน

                  พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิตและรายได้คุ้มต่อการลงทุนทั้ง 2 ครั้ง เนื่องจากปริมาณผลผลิต
                  และราคาผลผลิต ณ ระดับคุ้มทุนของการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งต้นฝนและปลายฝนอยู่ในระดับที่

                  ตํ่ากว่า ปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิตที่เกษตรกรได้รับ

                             การผลิตยางพารา มีการปลูกยางพาราในหน่วยที่ดิน 55B พบว่า การปลูกยางพาราใน
                  หน่วยที่ดินที่สํารวจ เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิตและรายได้คุ้มต่อการลงทุน เนื่องจากปริมาณผลผลิต

                  และราคาผลผลิต ณ ระดับคุ้มทุน อยู่ในระดับที่ตํ่ากว่า ปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิตที่เกษตรกรได้รับ
   287   288   289   290   291   292   293   294   295   296   297