Page 110 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 110

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        79







                       การก าหนดกลยุทธ์ด้วยเทคนิค TOWS Matrix
                              ด าเนินการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength) กับโอกาส (Opportunity) เพื่อก าหนดกลยุทธ์เชิงรุก
                       วิเคราะห์จุดแข็ง (Strength) กับภัยคุกคาม (Threat) เพื่อก าหนดกลยุทธ์ปรับภายนอกองค์กร วิเคราะห์

                       จุดอ่อน (Weakness) กับโอกาส (Opportunity) เพื่อก าหนดกลยุทธ์พัฒนาภายในองค์กร และวิเคราะห์
                       จุดอ่อน (Weakness) กับภัยคุกคาม (Threat) เพื่อก าหนดกลยุทธ์ปรับภายในองค์กร สามารถสรุปกลยุทธ์
                       ได้ 7 กลยุทธ์
                              1.  พัฒนาเครือข่ายหมอดินอาสาให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

                              2.  พัฒนาระบบฐานข้อมูลดินและการประยุกต์ใช้ข้อมูลดิน
                              3.  สนับสนุนศูนย์กลางการเรียนรู้การพัฒนาที่ดินระดับต าบล
                              4.  ส่งเสริมการจัดการดินเพื่อแก้ปัญหาดินกรดและดินอุดมสมบูรณ์ต่ า เพื่อการปลูกพืชใน
                       พื้นที่ด าเนินการ


                              5.  ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดใช้สารเคมี พัฒนาสู่เกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
                       ในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียวลืมผัว  ปลูกมะระหวาน และปลูกเสาวรส

                              6.  สนับสนุนให้มีการพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็กในไร่นา สามารถเก็บน้ าเพื่อการเกษตรและ
                       อุปโภคบริโภคได้อย่างพอเพียง เพื่อสร้างความมั่นคงและปัจจัยพื้นฐานในการผลิตของเกษตรกรและ
                       ชุมชน
                              7.  ส่งเสริมการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อแก้ปัญหาการเกิดอุทกภัยและลดการ
                       ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ด าเนินการ

                              การชะล้างพังทลายของดิน เป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่มองเห็นได้ชัดเจน
                       เช่น   ดินบริเวณตลิ่งที่ถูกแม่น้ าล าธารกัดเซาะ   การเลื่อนไหลของดินบริเวณภูมิประเทศที่มีความ
                       ลาดชัน  แผ่นดินถล่ม  การยุบตัวของดิน  เป็นต้น

                                    สาเหตุส าคัญของการชะล้างพังทลายของดิน   มี  2 ประการ ดังนี้
                                   1. การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น  การกัดชะด้วยฝนหรือ
                       ลม  เนื่องจากการขาดพืชคลุมดิน  การกัดเซาะของกระแสน้ า  การพังของตลิ่งอันเนื่องมาจากการกัด
                       เซาะของน้ าและแรงโน้มถ่วงของโลก  การชะล้างพังทลายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ  ความลาดเอียง

                       ของพื้นดิน  ลมฟ้าอากาศ  ลักษณะของเนื้อดิน  ดินในบริเวณพื้นที่ลาดเอียงจะถูกกัดเซาะได้
                       เร็ว  เพราะกระแสน้ าจะมีความแรงดินในบริเวณที่มีฝนตกหนักจะถูกกัดเซาะไปได้มาก  ส่วนดินใน
                       บริเวณพื้นที่แห้งแล้งจะถูกกระแสลมพัดพาไปได้ง่าย ดินแต่ละชนิดจะมีลักษณะต่างกันจึงถูกชะล้าง
                       พังทลายได้ยากง่ายต่างกัน  เช่นดินทรายจะถูกพัดพาไปโดยลมได้ง่าย  เป็นต้น

                                     2. การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจากการกระท าของมนุษย์ เช่น การระเบิดภูเขา การ
                       สร้างถนน การตัดไม้ท าลายป่า การท าไร่เลื่อยลอย การท าเหมืองแร่ เป็นต้น
                                    ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการชะล้างพังทลายของดินไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากธรรมชาติ  หรือ จาก
                       การกระท าของมนุษย์  มีมากมาย  เช่น ดินชั้นบนซึ่งมีแร่ธาตุอยู่มากจะถูกท าลายไป ซึ่งมีผลกระทบ

                       ต่อการเพาะปลูก  และอย่างเป็นเหตุท าให้อ่างเก็บน้ าตื้นเขิน  บ่อน้ าและแหล่งน้ าตื้นเขิน  เกิดความ
                       แห้งแล้งเกิดอุทกภัย  เกิดสันดอนซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางน้ า  เป็นต้น
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115