Page 73 - การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดินในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559)
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                              56





                                   จุดแข็ง (Strengths)

                                         (1) พื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศักยภาพในการพัฒนาปาล์มน้ ามันและแหล่ง
                  พลังงานทดแทนไบโอดีเซล เนื่องจากมีพื้นที่พรุ พื้นที่นาทิ้งร้าง และพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์ม
                  น้ ามัน
                                         (2) พื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความพร้อมต่อการพัฒนาเป็นฐานการ

                  เชื่อมโยงทางทะเลกับนานาชาติ ซึ่งสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม
                                         (3) ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความ
                  เหมาะสมต่อการผลิตด้านการเกษตรพืชเศรษฐกิจ อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ ามัน และไม้ผล

                                         (4) พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจึงมี
                  วัฒนธรรมสังคม เชื่อมโยงอยู่กับประเทศโลกมุสลิม ซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาภาค
                  เกษตรกรรม
                                         (5) พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและหลากหลาย ซึ่งเป็น
                  ปัจจัยส าคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ด้านเกษตรกรรม

                                         (6) มีด่านชายแดน ๙ ด่าน ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นจุดเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ
                  IMT  -  GT  (Indonesia  –  Malaysia  -  Thailand  Growth  Triangle) และมีสิงค์โปร์ เป็นศูนย์กลางด้าน
                  เศรษฐกิจซึ่งสนับสนุนต่อการพัฒนาด้านเกษตรกรรม

                                         (7) พื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่รองรับวัตถุดิบทาง
                  การเกษตร โดยเฉพาะการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น ไบโอดีเซล จากปาล์มน้ ามัน เป็นต้น
                                         (8) มีการเชื่อมโยงการพัฒนากับพื้นที่เศรษฐกิจทางตอนเหนือประเทศมาเลเซีย
                  ซึ่งจะเป็นปัจจัยส าคัญในการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

                                         (9) มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการพัฒนายางพาราของประเทศ เนื่องจาก
                  มีวัตถุดิบจากการปลูกยางพาราเป็นหลักในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้

                                   จุดอ่อน (Weakness)

                                         (1) ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากดินมีสภาพเปรี้ยวจัดและมี
                  ความเป็นกรด ท าให้การท านาหรือปลูกไม้ผลอื่น มีผลผลิตต่อไร่ต่ า ท าให้เกษตรกรหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน
                                         (2) ปัญหานาร้าง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของ

                  อาหาร การอนุรักษ์และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รวมถึงภูมิทัศน์ของท้องถิ่น
                                         (3) เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขาดความรู้ ความเข้าใจ และเข้าไม่ถึง
                  “ระบบการท านาแผนใหม่”
                                         (4) ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพน้ าเสื่อมโทรมส่งผล

                  กระทบต่อผลผลิตของภาคเกษตรกรรม
                                         (5) เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการน า
                  เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมมาใช้ในการเกษตร เช่นการคัดเลือกพันธุ์พืช และปัจจัยผลิตที่เหมาะสม ที่ส าคัญ
                  เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้รูปแบบและวีการผลิตดั้งเดิม จึงท าให้ผลผลิตต่อไร่ต่ า

                                         (6) ภาคเกษตรกรรมขาดการบูรณาการระหว่างส่วนราชการ และการด าเนินงาน
                  ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ส่งผลให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาขาดความต่อเนื่อง ขาด
                  ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเกษตรกรรม




                    แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมพัฒนาที่ดิน ในช่วงแผนเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559)
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78