Page 149 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 149

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-89






                                 2)  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ 2555-2559)
                                การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

                      ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญทั้งภายนอกและภายในประเทศ
                      ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะ

                      ข้อผูกพันที่จะเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558  จึงจําเป็นต้องนําภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งเร่งสร้าง
                      ภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นมาใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คน สังคม และระบบเศรษฐกิจ

                      ของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สามารถพัฒนา

                      ประเทศให้ก้าวต่อไปเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี
                      ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง คือ ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตรรวมถึงความมั่นคงของอาหาร

                      และพลังงานซึ่งมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
                      สังคมแห่งชาติ, 2555)

                               (1)การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน
                                 โดยการฟื้นฟูคุณภาพของทรัพยากรดินให้มีความอุดมสมบูรณ์การบริหารจัดการนํ้า

                      อย่างบูรณาการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้าภาคเกษตร เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนการเพิ่ม
                      ประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตร

                                (2) การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตรดําเนินงานโดย

                                -          ให้ความสําคัญกับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพันธุ์พืช
                      ที่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และ

                      ส่งเสริมบทบาทของสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน องค์กรชุมชน และเกษตรกรในการพัฒนาพันธุ์พืช
                      การใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร

                      โดยเฉพาะการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและระบบตลาดสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมเพื่อยกระดับ
                      ความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองของเกษตรกรรวมทั้งสนับสนุนการบริหารจัดการและ

                      การสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่ การผลิตสินค้าเกษตร เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้าน
                      อาหารและพลังงาน และคงความเป็นผู้นําด้านการเกษตรของโลกในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

                                 - สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน โดยสนับสนุนสินเชื่อผ่อนปรนและ

                      มาตรการทางด้านภาษีแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
                      และคุ้มค่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและขยายการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแข่งขัน ใน

                      ตลาดโลก
                                 - สนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่เช่น ศักยภาพของดิน

                      แหล่งรองรับผลผลิต และปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตรที่สําคัญ เช่น ระบบชลประทาน ระบบโลจิสติกส์
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154